การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการอพยพ และที่ตั้งศูนย์อพยพจากเขตน้ำท่วม กรณีศึกษา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

Authors

  • ธิดาภัทร อนุชาญ

Keywords:

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, น้ำท่วม, กระบวนการวิเคราะห์แบบลำดับชั้น, ที่ตั้งศูนย์อพยพ, พื้นที่ที่เหมาะสม

Abstract

น้ำท่วมเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต และความเสียหายต่อทรัพย์สินมากมาย ในการศึกษาครั้งนี ้ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการอพยพ และการหาที่ตั้งศูนย์อพยพจากเขตน้ำท่วม ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 6 ปัจจัย ได้แก่ 1) พื้้นที่น้ำท่วม 2) การใช้ประโยชน์ที่ดิน 3) เส้นทางถนน 4) ความลาดชัน 5) ระยะห่างจากแหล่งน้ำและทางน้ำ และ 6) การระบายน้ำของพื้นผิวดินจากนั้นนำปัจจัยดังกล่าวมาวิเคราะห์การตัดสินใจแบบหลากหลายกฎเกณฑ์ (MCDA) โดยใช้เทคนิคการให้น้ำหนักด้วยกระบวนการวิเคราะห์แบบลำดับชั้น (AHP) เพื่อจำแนกพื้นที่ที่เหมาะสมในการอพยพ เป็น 5 ระดับ ผลการวิเคราะห์พบพื้นเหมาะสมที่สุด 59.14 ตร.กม. เหมาะสมมาก 74.27 ตร.กม. เหมาะสมปานกลาง 292.91 ตร.กม. เหมาะสมน้อย 283.02 ตร.กม. และเหมาะสมน้อยที่สุด 75.54 ตร.กม. สุดท้ายทำการวิเคราะห์หาที่ตัั้้งศูนย์อพยพในแต่ละตำบลของอำเภอหาดใหญ่ โดยใช้พื้นที่เหมาะสมที่ระดับปานกลางขึัึ้นท่วมกับการพิจารณาพื้นที่ไม่เคยมีน้ำท่วมมาก่อน ผลการศึกษาพบว่า มีที่ตั้งศูนย์อพยพที่เหมาะสมจำนวน 14 แห่ง ที่มีประโยชน์สำหรับการเตรียมความพร้อม ในการวางแผนเพื่อป้ องกันและบรรเทาผลกระทบจากน้้ำท่วมในพื้นที่หน่วยงานที่รับผิดชอบInundation, a natural disaster, is becoming more frequent and/or severe. It can cause loss of life and heavy property damages. In this study, the geographic information system was applied to determine the optimal safe areas for evacuation and building the evacuation sites under the threat of flooding in Hat Yai District, Songkhla Province. Six factors including 1) inundation zone, 2) land use, 3) road network, 4) slope, 5) distance from water body and stream line and 6 ) soil drainage were analyzed by Multiple-Criteria Decision Analysis (MCDA) using the Analytic Hierarchy Process (AHP) in order to classify the optimal safe areas into five categories according to the suitability comprising very high (59.14 km2 ), high (74.27 km2 ), moderate (292.91 km2 ), low (283.02 km2 ) and very low (75.54 km2 ). The categorized areas with modulate to very high suitability associated with the areas that have never been flooded were considered as the optimal safe areas for building the evacuation sites in each subdistrict of Hat Yai district. It was found that fourteen evacuation sites are useful for planning to reduce or prevent the detrimental effect of floods.

Downloads