การคัดเลือกยีสต์กลุ่มแคโรทีโนจีนิคจากแหล่งดินธรรมชาติในเขตมหาวิทยาลัยพะเยา

Authors

  • สุภาพร ภัสสร
  • นิตยา สุขวรรณา
  • พนิตนาฎ อู่พุฒินันท์

Keywords:

แคโรทีนอยด์, แคโรทีโนจีนิคยีสต์

Abstract

การศึกษาครั้งนี้ได้คัดแยกยีสต์กลุ่มแคโรทีโนจีนิค จากแหล่งดินธรรมชาติในเขตมหาวิทยาลัยพะเยา โดยคัดเลือก เฉพาะยีสต์ที่มีลักษณะโคโลนีที่เป็นสีส้มหรือชมพูขณะเจริญบนอาหาร Potato dextrose agar (PDA) ได้จำนวน 3 ไอโซเลท ได้แก่ UP11 UP12และ UPF2 เมื่อนำยีสต์ดังกล่าวมาจำแนก และเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล GenBank สามารถจำแนกยีสต์ไอโซเลท UP12 และ UPF2 ได้เป็น Rhodotorula mucilaginosa ส่วนการจัดจำแนกไอโซเลท UP11 ยังไม่สามารถระบุชนิดได้ เนื่องจากแสดงค่าความเหมือนของข้อมูลลำดับนิวคลีโอไทด์อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ซึ่งสมควรเลือกยีนเครื่องหมายชนิดใหม่มาใช้ในการจำแนก การศึกษาอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการผลิตแคโรทีนอยด์ของยีสต์ไอโซเลท UP11 และ UP12 ในอาหารเหลว Yeast Malt extract (YM) พบว่ายีสต์ทั้งสองไอโซเลทสามารถผลิตแคโรทีนอยด์ได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิ 30องศาเซลเซียส เท่ากับ 28.59±1.69 และ 14.59±0.55 ไมโครกรัม/กรัมน้ำหนักแห้ง ตามลำดับThis study aimed to isolate carotenogenicyeasts from natural soil at the University of Phayao. Three isolates of yeasts displayed orange or pink colonies were obtained after screening on Potato dextrose agar (PDA) plates, which were named as UP11 UP12 and UPF2. Internal transcribed spacer (ITS)-based identification and similarity search upon GenBank database highly specified UP12 and UPF2 as Rhodotorula mucilaginosa. In contrast, the taxonomic position of UP11 was obscured since there was no reasonable matching sequence in the database. This observation suggested that alternative molecular chronometer should be taken into consideration. The optimum temperature for carotenoid production for both UP11 and UP12 was 30 o C, which were announced as28.59±1.69 and 14.59±0.55 µg.g-1 cell dry weight, respectively.

Downloads