ผลของตะกอนชีวภาพภายใต้ระบบเลี้ยงสัตว์นํ้าแบบหมุนเวียนระบบปิดต่อการควบคุมความเข้มข้นของสารประกอบอนินทรีย์ไนโตรเจน
Keywords:
ตะกอนชีวภาพ, การบําบัดสารประกอบไนโตรเจน, การเลี้ยงสัตว์น้ำหมุนเวียนระบบปิด, ปลานิลAbstract
งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาถึงบทบาทความสามารถของตะกอนชีวภาพ ที่เกิดขึ้นภายใต้ระบบเลี้ยงสัตว์นํ ้าแบบปิดต่อการบําบัดสารประกอบอนินทรีย์ไนโตรเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้มข้นของแอมโมเนีย และความเข้มข้นของไนไทรต์ ซึ่งการทดลองนี้ทําการเลี้ยงปลานิลที่ระดับความหนาแน่นเริ่มต้น 3.0 กก./ลบ.ม. โดยไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำและแยกตะกอน แขวนลอยออกจากบ่อเลี้ยงเป็ นระยะเวลา 60 วัน ผลการทดลองพบว่าการควบคุมปริมาณตะกอนชีวภาพให้อยู่ในช่วง 200 ถึง 800 มก.ของแข็งแขวนลอย/ล. ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณของเสียไนโตรเจนในช่วง 2.9 ถึง 9.6 มก.ไนโตรเจน/ล./วัน สามารถควบคุมความเข้มข้นของแอมโมเนียและไนไทรต์ในน้ำให้ตํ่ากว่า 1.0 มก.ไนโตรเจน/ล. นอกจากนี ้ยังพบว่าอัตราการบําบัดแอมโมเนียจากตะกอนชีวภาพในถังเลี้ยงปลานิลเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลาโดยมีค่าเท่ากับ0.023 ± 0.001 มก.ไนโตรเจน/มก. ของแข็งแขวนลอย/วัน ในวันที่ 30 ซึ่งมากกว่าค่าอัตราการบําบัดแอมโมเนียในช่วงก่อนวันที่ 30 และหลังจากวันที่ 45 อย่างชัดเจน นั่นคือเป็นการนําองค์ความรู้ ตะกอนชีวภาพสู่การประยุกต์ใช้ในการบําบัดสารประกอบไนโตรเจนภายใต้ระบบเลี้ยงสัตว์น้ำแบบหมุนเวียนได้อีกแนวทางหนึ่งThis research involved the study of the rolebiological flocculation formed in the Recirculating aquaculture system in treating of ammonium and nitrite. Tilapia cultivation was conducted for 60 days without water exchange and solids removal given the initial tilapia weight density of 3.0 kg/m3 . Maintenance of suspended solids concentrations between 200 and 800 mg SS/L, which was equivalent to nitrogen waste loadings ranged from 2.9 to 9.6 mg N/mg-day, was capable of maintaining ammonium and nitrite concentrations below 1.0 mg N/L. In addition, ammonium removal rates of bioflocs from cultivating tanks varied time with the rate on Day 30 determined at 0.023 ± 0.001 mg N/mg-day, ahigher value thanthe rates observed before Day 30 and after Day 45. Thus thebioflocshad a potential for nitrogen treatment application in aquaculture system.Downloads
Issue
Section
Articles