โครงสร้างพันธุศาสตร์ประชากรของหอยชักตีน (Strombus canarium) ตามแนวชายฝั่งทะเลอันดามัน
Keywords:
ไมโทคอนเดรียลดีเอ็นเอ, ความหลากหลายทางพันธุกรรม, ประวัติประชากร, หอยชักตีน, ทะเลอันดามันAbstract
หอยชักตีน (Strombus canarium) เป็ นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในภาคใต้ของประเทศไทย ปัจจุบันหอยชักตีน มีจำนวนลดลง เนื่องจากมีการจับเพื่อนำมาบริโภคจนเกินขีดความสามารถในการขยายพันธุ์จำเป็นต้องมีการจัดการซึ่งต้องมีข้อมูลทางพันธุกรรมในการวางแผนจัดการ โดยการวิจัยครั้งนี้ทำการศึกษาโครงสร้างพันธุศาสตร์ประชากรและประวัติ ประชากรของหอยชักตีนตามแนวชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยวิเคราะห์จากความหลากหลายของล าดับนิวคลีโอไทด์ในไมโทคอน เดรียขนาด 497 คู่เบส จากยีน cytochrome oxidase subunit I เก็บตัวอย่างจาก 5จังหวัด คือจังหวัดสตูล จังหวัดตรัง จังหวัดกระบี่ จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดพังงา จำนวนทั้งหมด 84 ตัว พบว่า มีแฮโพลไทป์ 17 แฮโพลไทป์ค่า haplotype diversity และ nucleotide diversity มีค่า 0.762 และ 0.002 ตามลำดับ ค่าสถิติ Tajima’s D และ Fu’ FS จากการทดสอบ neutrality test พบว่า ประชากรหอยชักตีนเคยมีการขยายขนาดทดสอบ mismatch distribution พบว่า ยอมรับการเกิดsudden expansion model และน่าจะขยายขนาดมาประมาณ 100,000 ปีในยุคไพลสโตซีน แผนผังความสัมพันธ์ระหว่างแฮโพลไทป์ (MSN) พบว่าเป็นรูปแบบดาว (star topology) และไม่สามารถแบ่งประชากรตามสภาพภูมิศาสตร์ได้ ทดสอบโครงสร้ างพันธุศาสตร์ ประชากรด้วยวิธี AMOVA พบว่า ไม่มีโครงสร้างพันธุศาสตร์ประชากรเกิดขึ ้น ทดสอบความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่าง จังหวัดด้วยวิธี pairwise FSTพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน การไม่เกิดโครงสร้างพันธุศาสตร์ประชากรน่าจะเกิดจากประชากร หอยชักตีนมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมได้ดี ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการจัดการหอยชักตีนในทะเลอันดามันได้Wing shell (Strombus canarium) is an important commercial fishery product in Southern Thailand. Due to dramatic decreases inS. canarium populations, caused by overexploitation, an effective sustainable management strategy is needed. This plan needs to be based on detailed information of genetic features. In this study, population genetic structure and demographic history of the wing shell (Strombus canarium) living along the Andaman Sea coast was analyzedbased on the variation of the nucleotide sequence (497 bp) of mitochondrial DNA in cytochrome oxidase subunit I. The mtDNA sequences of 84 individual collected from 5 sampling sites: Satun, Trang, Krabi, Phuket and Phang Nga province, were analyzed. In total, 17 haplotypes were identified. Estimated values of haplotype and nucleotide diversities were 0.762 and 0.002, respectively. Neutrality tests (Tajima's D and Fu's FS statistics) showed that Andaman populations of S. canarium had experienced expansion. In addition, the analysis of mismatch distribution accepted the sudden expansion model. The approximate time of the expansion was 100,000 years ago during the Pleistocene period. The topology of a minimum spanning network (MSN) was a star topology and did not indicate any distinct pattern of phylogeographic structure. An AMOVA analysis showed no genetic structure among populations. The analysis of pairwise differences (FST) also showed no statistically significant difference between all possible regional combinations. Based on these results, an absence of a population structure of S. canarium on the Andaman Sea coast was possibly caused by a high level of gene flow. The results revealed by this study are necessary information contributing to efficient strategies to conserve this species in Andaman Sea.Downloads
Issue
Section
Articles