การเกิดต้นจากการเพาะเลี้ยงแคลลัสของขมิ้นชันในหลอดทดลอง

Authors

  • กรณ์ กรภัทร์ชัยกุล
  • จีรนันท์ กล่อมนรา แก้วรักษา
  • ศักดิ์ชัย กรรมารางกูร

Keywords:

แคลลัส, การเกิดต้น, ขมิ้นชัน

Abstract

เพาะเลี้ยงตาจากเหง้าและหน่ออ่อนของขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) ที่เก็บตัวอย่างมาจากอาเภอบ้านตาขุน และอาเภอท่าชนะบนอาหารสูตร MS (1962) ที่เติม 2, 4-D, NAA และ BAP ความเข้มข้นต่างๆ ในสภาพปลอดเชื้อเพื่อชักนาให้เกิดแคลลัส อาหารสาหรับเพาะเลี้ยงใช้สูตร MS เติม 2, 4-D หรือ NAA หรือ BAP ความเข้มข้นต่างๆ ผลการทดลองแสดง ให้เห็นว่าเกิดแคลลัสหลายแบบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและความเข้มข้นของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชที่เติมลงในอาหารเพาะเลี้ยง แคลลัสสีน้าตาลอ่อนที่เกิดขึ้นในอาหารที่เติม NAA หรือ NAA ร่วมกับ BAP เท่านั้นที่สามารถย้ายเลี้ยงเพิ่มจานวนก้อนแคลลัสได้ เมื่อย้ายไปเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ดัดแปลงที่เติม BAP หรือ NAA พบว่า NAA ความเข้มข้นต่าๆ ร่วมกับ BAP ความเข้มข้นสูงแคลลัสพัฒนาไปเป็นกลุ่มตาสีเขียวจานวนมากและเจริญพัฒนาเป็นหน่อ โดยอาหารสูตรที่เติม NAA 0.1 มก./ล. ร่วมกับ BAP ความเข้มข้น 3.0 มก./ล. ชักนาให้เกิดต้นเฉลี่ยมากที่สุด ( 15.8 ต้นในขมิ้นชันจากอาเภอบ้านตาขุนและ 11.9 ต้นในขมิ้นชันจากอาเภอท่าชนะ) การเกิดรากจานวนมากเมื่อย้ายหน่อไปเลี้ยงในอาหารสูตร MS ที่เติม NAA ความเข้มข้น 1.0 หรือ 3,0 มก./ล. การย้ายต้นกล้าขมิ้นชันไปอนุบาลโดยปลูกลงกระถางดินแล้วครอบด้วยถุงพลาสติกใสทาให้มีอัตรารอดชีวิตสูง จากการสังเกตลักษณะทางสัณฐานของต้นขมิ้นชันที่ได้จากการเพาะเลี้ยงแคลลัสพบว่าไม่แตกต่าง จากต้นแม่

Downloads