การสกัดยูเรเนียมจากน้าทะเลโดยใช้แผ่นพอลิเอธิลีนความหนาแน่นต่า และความหนาแน่นสูงที่กราฟต์ด้วยหมู่ฟังก์ชันเอมีดอกซิม Authors วรีภรณ์ รัตนิสสัย ดุลยพงศ์ วงศ์แสวง Keywords: การสกัดยูเรเนียม, น้าทะเล, หมู่ฟังก์ชันเอมีดอกซิม, การกราฟต์ด้วยการฉายรังสี, แผ่นพอลิเอธิลีน Abstract งานวิจัยนี้ศึกษาการสกัดยูเรเนียมจากน้าทะเลโดยใช้แผ่นฟิล์มพอลิเอธิลีนที่มีหมู่ฟังก์ชัน Amidoxime เป็นตัวดูดจับ การเตรียมตัวดูดจับที่มีหมู่ฟังก์ชัน Amidoxime ทาโดยนาแผ่นฟิล์มพอลิเอธิลีนชนิดความหนาแน่นต่า (Low density polyethylene: LDPE) และชนิดความหนาแน่นสูง (High density polyethylene: HDPE) ที่ความหนาต่างๆ กัน มากราฟต์ กับมอนอเมอร์ที่ประกอบด้วยอะคริโลไนไตรล์และกรดเมธะคริลิค แล้วฉายรังสีแกมมาแบบ Simultaneous irradiation ที่ความแรงรังสีรวม 40 กิโลเกรย์ จากนั้นเปลี่ยนหมู่ฟังก์ชัน Cyano ที่กราฟต์อยู่บนผิวของแผ่นฟิล์มให้เป็นหมู่ฟังก์ชัน Amidoxime โดยทาปฏิกิริยากับ Hydroxylamine hydrochloride ผลการทดลองพบว่าค่า Degree of cografting ของแผ่นฟิล์มที่หนา (200 m) มีค่าต่ากว่าแผ่นฟิล์มที่บาง (100 m) อยู่ 14% และค่า Degree of cografting ของแผ่นฟิล์ม LDPE มีค่าสูงกว่า HDPE โดยค่า Degree of cografting ที่สูงจะส่งผลให้มี Amidoxime group density มากและมีความสามารถในการดูดจับยูเรเนียมจากน้าทะเลได้ดี ดังนั้นแผ่นฟิล์ม LDPE ที่บางจึงเหมาะสมที่จะเป็นวัสดุตั้งต้นเพื่อสังเคราะห์เป็นตัวดูดจับยูเรเนียม หลังจากแช่แผ่นฟิล์ม Amidoximated LDPE ที่หนา 100 m ในน้าทะเลในห้องปฏิบัติการวิจัยเป็นเวลา 1 เดือน พบว่าประสิทธิภาพการดูดจับยูเรเนียมจากน้าทะเลเท่ากับ 0.42 กรัมต่อกิโลกรัมตัวดูดจับ Downloads PDF Issue Vol. 22 No. 1 (2560): วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา Section Articles