การประเมินสภาพภูมิอากาศในอดีตโดยอาศัยตัวบ่งชี้เรณูวิทยาและธรณีเคมีของอินทรียวัตถุที่ปะปนอยู่ร่วมกับตะกอนทะเลสาบบริเวณประเทศไทย

Authors

  • อัคนีวุธ ชะบางบอน

Keywords:

ตะกอนทะเลสาบ, ตัวบ่งชี้, เรณูวิทยา, ธรณีเคมี, อินทรียวัตถุ

Abstract

ตัวบ่งชี้ที่ปะปนอยู่ร่วมกับตะกอนทะเลสาบสามารถนำมาใช้ในการประเมินการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมตลอดจนสภาพภูมิอากาศในอดีตได้ ตัวบ่งชี้ที่นิยมนำมาศึกษาจากทะเลสาบบริเวณประเทศไทย ได้แก่ เรณูวิทยาและธรณีเคมีของอินทรียวัตถุ โดยละอองเรณูชี้ให้เห็นถึงการกระจายตัวและการเปลี่ยนแปลงของพันธุ์พืชร่วมกับสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ตามการศึกษาด้วยวิธีนี้ยังมีข้อจากัดเนื่องจากความต่างของการผลิตและการกระจายตัวของละอองเรณูของพืชแต่ละชนิด รวมถึงการรักษาสภาพของละอองเรณูในแอ่งสะสมตะกอน นอกจากนั้นความคล้ายคลึงกันทาให้การจาแนกชนิดของละอองเรณูทำได้ยาก สาหรับตัวบ่งชี้ทางธรณีเคมีของอินทรียวัตถุประกอบด้วย ค่าอินทรีย์คาร์บอนรวม อัตราส่วนระหว่างคาร์บอนและไนโตรเจน อัตราส่วนไอโซโทปเสถียรคาร์บอน และอัตราส่วนไอโซโทปเสถียรไนโตรเจน โดยทำการแปลผลร่วมกันในเชิงของการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำในทะเลสาบและปริมาณน้ำท่าที่ไหลเข้ามาสู่ทะเลสาบสัมพันธ์กับปริมาณน้าฝน อย่างไรก็ตามเนื่องจากอินทรียวัตถุมีการเปลี่ยนแปลงและถูกย่อยสลายอยู่ตลอดเวลาจากการทางานของจุลินทรีย์ ทาให้การแปลความหมายโดยอาศัยตัวบ่งชี้ชนิดนี้มีความซับซ้อน ดังนั้นในการจาลองสภาพภูมิอากาศในอดีตจึงจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสอบเทียบร่วมกับตัวบ่งชี้ชนิดอื่น และทาความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบันโดยรอบทะเลสาบ เพื่อจากัดความคลาดเคลื่อนในการแปลความหมายให้น้อยที่สุด

Downloads