บทวิจารณ์การจำลองสภาพภูมิอากาศในอดีตบริเวณประเทศไทยระหว่าง ยุคธารน้ำแข็งขยายตัวมากที่สุดครั้งสุดท้ายถึงสมัยโฮโลซีนตอนกลาง

Authors

  • อัคนีวุธ ชะบางบอน

Keywords:

ตัวบ่งชี้, ปีก่อนช่วงปัจจุบัน, ยุคธารน้าแข็งขยายตัวมากที่สุดครั้งสุดท้าย, ยุคยังเกอร์ดรายอัส, สมัยโฮโลซีน

Abstract

ประเทศไทยตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ถูกพิจารณาว่ามีความสำคัญยิ่งต่อการติดตามการเปลี่ยนแปลงของลมมรสุมทวีปเอเชีย (the Asian monsoon) อันเป็นตัวแปรสาคัญที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก โดยการส่งผ่านพลังงานความร้อนและความชื้นจากเส้นศูนย์สูตรถึงบริเวณที่ตั้งอยู่บนเส้นละติจูดที่อยู่สูงขึ้นไป ในบทความนี้ได้รวบรวมและสรุปผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศบรรพกาล โดยใช้ตัวบ่งชี้ที่ปะปนอยู่กับตะกอนในทะเลสาบบริเวณประเทศไทย ระหว่างยุคธารน้ำแข็งขยายตัวมากที่สุดครั้งสุดท้าย (23,000–19,000 ปีก่อนช่วงปัจจุบัน หรือ years before present หรือ ก่อนปี ค.ศ. 1950) ถึงสมัยโฮโลซีนตอนกลาง (8,000-4,000 ปีก่อนช่วงปัจจุบัน) บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นและมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปัจจุบัน ในขณะที่ภาคใต้มีสภาพภูมิอากาศแบบชุ่มชื้น แม้ว่าแท่งตะกอนที่ได้จากภาคเหนือและใต้แสดงความไม่ต่อเนื่องของข้อมูลหลังช่วงเวลาดังกล่าว แต่ตัวบ่งชี้ในตะกอนทะเลสาบจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงแสดงสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นและแห้งแล้งครอบคลุมเกือบตลอดยุคธารน้ำแข็งละลาย (19,000–12,900 ปีก่อนช่วงปัจจุบัน) ก่อนที่มีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นระหว่างยุคยังเกอร์ดรายอัส ถึงสมัยโฮโลซีนตอนกลาง (13,000–7,000 ปีก่อนช่วงปัจจุบัน) ในขณะที่บริเวณภาคใต้ไม่สามารถระบุว่าสภาพภูมิอากาศแบบอบอุ่นและชุ่มชื้นเริ่มต้นเมื่อใด แต่พบว่าครอบคลุมตลอดสมัยโฮโลซีนตอนต้นก่อนที่จะมีปริมาณน้าฝนลดลงอีกครั้งในสมัยโฮโลซีนตอนกลาง (ประมาณ 8,000–4,000 ปี ก่อนช่วงปัจจุบัน)

Downloads