แบบจำลองอุณหภูมิสูงสุดในภำคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Authors

  • ประภาวรรณ เสนาเพ็ง
  • ปิยภัทร บุษบาบดินทร์

Keywords:

ค่าสุดขีด, อุณหภูมิสูงสุด, การแจกแจงค่าสุดขีดวางนัยทั่วไป, การแจกแจงพาเรโตวางนัยทั่วไป, ระดับการเกิดซ้ำ

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแบบจาลองที่เหมาะสมกับข้อมูลอุณหภูมิสูงสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยใช้การแจกแจงค่าสุดขีดวางนัยทั่วไป (Generalized Extreme Value Distribution: GEV) และการ แจกแจงพาเรโตวางนัยทั่วไป (Generalized Pareto Distribution: GPD) พร้อมทั้งหาระดับการเกิดซ้าของอุณหภูมิสูงสุด ซึ่งข้อมูลที่นามาสร้างแบบจาลองอุณหภูมิสูงสุดเป็นข้อมูลระหว่างปี พ.ศ.2528 - 2558 (31 ปี) จานวน 25 สถานี จากกรมอุตุนิยมวิทยา ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม R จากการศึกษาด้วย GEV พบว่า การแจกแจงไวบูล (Weibull distribution: WD) และการแจกแจงกัมเบล (Gumbel distribution: GBD) เป็นการแจกแจงที่เหมาะสมสาหรับข้อมูลอุณหภูมิสูงสุดของสถานีจานวน 15 และ 10 สถานี ตามลาดับ และการแจกแจงที่เหมาะสมเมื่อศึกษาด้วย GPD ได้แก่ การแจกแจงแกมมา (Gamma Distribution : GMD) จานวน 24 สถานี และการแจกแจงเอกซ์โพเนนเชียล (Exponential distribution : ED) จานวน 1 สถานี เมื่อพิจารณาระดับการเกิดซ้าในรอบปีการเกิดซ้า 5 ปี 10 ปี 25 ปี 50 ปี และ 100 ปี ของอุณหภูมิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พบว่า ระดับการเกิดซ้าของทุกสถานีมีค่าสูงขึ้นเมื่อจานวนรอบปีการเกิดซ้าเพิ่มขึ้นสาหรับทั้ง 2 วิธี โดยเฉพาะสถานีตรวจวัดอากาศจังหวัดหนองคาย มีระดับการเกิดซ้าสูงกว่าสถานีอื่น ดังนั้น หากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องจะทาการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเพิ่มสูงขึ้นของอุณหภูมิควรจะให้ความสาคัญกับสถานีตรวจวัดอากาศ จังหวัดหนองคาย มากกว่าสถานีอื่น

Downloads