ปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะหมอกควันในแอ่งลำปาง

Authors

  • วิพัฒน์ หมั่นการ

Keywords:

สภาวะหมอกควัน, แอ่งลาปาง

Abstract

การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะหมอกควันในแอ่งลำปางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาวิเคราะห์สภาวะหมอกควันในแอ่งลำปาง (2) ศึกษาปัจจัยด้านปริมาณน้ำฝน ความชื้นสัมพัทธ์ ความกดอากาศ ความเร็วลมและ ปริมาณการเผาในที่โล่งที่สัมพันธ์และส่งผลต่อสภาวะหมอกควันในแอ่งลำปาง ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ครั้งนี้ประกอบด้วยข้อมูลสถิติปริมาณน้ำฝน ความชื้นสัมพัทธ์ ความกดอากาศ และความเร็วลม รายวันระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2558 ที่วัด ณ สถานีอุตุนิยมวิทยาลาปาง ข้อมูลปริมาณการเผาในที่โล่งในพื้นที่แอ่งลาปาง จากสานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลาปาง สาหรับข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์หมอกควันรายวันเป็นข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ เลือกเอาเฉพาะข้อมูลปริมาณฝุ่นละอองในอากาศขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิเคราะห์พบว่า (1) สภาวะหมอกควันในแอ่งลาปางมีค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของปริมาณค่าPM10 โดยรวมเท่ากับ 77.3326 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (μg/m3) ช่วงที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือเดือนมีนาคม (x̄=115.5161μg/m3) รองลงมาได้แก่ เดือนกุมภาพันธ์ (x̄=107.8143μg/m3) เดือนมกราคม(x̄= 69.5161μg/m3) เดือนเมษายน (x̄= 69.4367μg/m3) และเดือนพฤศจิกายน(x̄=37.1600μg/m3)ตามลาดับ(2)การวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์ที่สัมพันธ์ที่สัมพันธ์กับสภาวะหมอกควันโดยวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันพบว่า ทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กับกรเกิดสภาวะหมอกควันในแอ่งลาปาง(Y)อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวก ได้แก่ การเผาในที่โล่ง(X5)และความเร็วลม (X4)ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบ ได้แก่ ความชื้นสัมพัทธ์(X2) ความกดอากาศ(X3) และด้านปริมาณน้าฝน(X1) และ(3) การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะหมอกควันโดยวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดสภาวะหมอกควันในแอ่งลาปางคือความชื้นสัมพัทธ์ ดังสมการพยากรณ์ด้วยคะแนนมาตรฐาน(Z)คือ Y/= - 0.611X2โดยสามารถพยากรณ์การส่งผลได้ร้อยละ 37.0 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Downloads