โครงสร้างประชาคมของปลาในอ่างเก็บน้ำห้วยหวด จังหวัดสกลนคร Authors สมศักดิ์ ระยัน อมรรัตน์ รังสิวิวัฒน์ บุญทิวา ชาติชานิ วิระวรรณ ระยัน Keywords: ประชาคมปลา ผลจับต่อหน่วยการลงแรงประมง, ดัชนีระดับความสาคัญสัมพัทธ์, อ่างเก็บน้าห้วยหวด Abstract การศึกษาโครงสร้างประชาคมของปลาในอ่างเก็บน้ำห้วยหวด จังหวัดสกลนคร โดยทาการสุ่มตัวอย่างตามพื้นที่จานวน 6 สถานี และตามฤดูกาลจานวน 3 ครั้ง ระหว่างเดือนธันวาคม 2558 ถึงเดือนกรกฎาคม 2559 ด้วยชุดเครื่องมือข่ายขนาดช่องตา 20, 30, 40, 55, 70, และ 90 มิลลิเมตร ชุดละ 3 ซ้า ผลการศึกษาพบความหลากหลายของชนิดพันธุ์ปลารวม ชนิด 10 วงศ์ ประกอบด้วยพันธุ์ปลาในวงศ์ปลาตะเพียนมากที่สุดจานวน 13 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 56.50 องค์ประกอบของ ผลจับตามชนิดปลาที่พบมากโดยน้ำหนัก พบปลาแป้นแก้วมีค่าสูงสุดเท่ากับร้อยละ 20.69 องค์ประกอบของผลจับตาม ชนิดปลาที่พบมากโดยจำนวนตัว พบปลาแป้นแก้วมีค่าสูงสุดเท่ากับร้อยละ 72.15 ชนิดพันธุ์ปลาที่มีความถี่ของการพบชนิดพันธุ์ปลาเทียบกับผลจับทั้งหมดมากที่สุดร้อยละ 100 จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ ปลาแป้นแก้ว และปลาไส้ตันตาขาว และค่าดัชนีระดับความสำคัญสัมพัทธ์ พบว่าปลาแป้นแก้วเป็นปลาชนิดเด่นที่เป็นผลจับหลักจากเครื่องมือข่ายมีค่าร้อยละ 51.78 ผลจากการศึกษาครั้งนี้อ่างเก็บน้าห้วยหวดมีผลจับต่อหน่วยการลงแรงประมงเฉลี่ยเท่ากับ 13.51 กรัมต่อพื้นที่ข่าย 100 ตารางเมตรต่อคืน จัดได้ว่ามีผลจับต่อหน่วยการลงแรงประมงอยู่ในเกณฑ์ระดับต่ำ ดังนั้นการเพิ่มผลผลิตปลาในอ่างเก็บน้ำควรเกิดจากการบริหารจัดการโดยการปล่อยพันธุ์ปลาทดแทน และมีมาตรการจำกัดการทำประมงเพื่อสร้างผลผลิตอย่างต่อเนื่อง Downloads PDF Issue Vol. 22 No. 1 (2560): วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา Section Articles