การประยุกต์ใช้เทคนิคการรับรู้จากระยะไกลเพื่อการจัดทำแผนที่ป่าชายเลน บริเวณปากแม่น้ำเวฬุ ประเทศไทย

Authors

  • กฤตวิชญ์ สุขอึ้ง
  • อนุกูล บูรณประทีปรัตน์
  • วิชญา กันบัว
  • นภาพร เลียดประถม

Keywords:

การอนุรักษ์ป่าชายเลน, ปัจจัยสิ่งแวดล้อม, การรับรู้จากระยะไกล, ประเทศไทย

Abstract

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประยุกต์ใช้เทคนิคการรับรู้จากระยะไกลร่วมกับข้อมูลสิ่งแวดล้อมเพื่อทำแผนที่กลุ่ม พันธุ์ไม้ในป่าชายเลน พื้นที่ศึกษาอยู่ในพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณปากแม่น้ำเวฬุ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ประเทศไทย ผลจากการศึกษาพบว่า ค่าความเป็นกรด-ด่าง และค่าออกซิเจนละลายในน้ำเป็นปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ ป่าชายเลน ส่วนผลจากการจำแนกข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมแบบกำกับดูแล และการวิเคราะห์หลังการจาแนกประเภทข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมร่วมกับค่าความเป็นกรด-ด่าง และค่าออกซิเจนละลายในน้ำเพื่อจำแนกต้นฝาดดอกขาว ต้นโกงกางใบเล็ก และต้นตะบูนขาว พบว่าความถูกต้องรวมของการจาแนกข้อมูลลดลงจากร้อยละ 91.09 เป็นร้อยละ 62.35 อย่างไรก็ตาม ผลที่ได้ภายหลังจากการจาแนกแบบกากับดูแล พบว่าการทาภาพสีผสมเท็จโดยผสมดัชนีความแตกต่างของ พืชพรรณในช่วงคลื่นสีแดง (ที่ได้จากการขยายแบบเส้นตรงของสีแดงและอินฟราเรดใกล้) ผสมช่วงคลื่นสีเขียวในช่วงคลื่น สีเขียว และผสมช่วงคลื่น สีน้ำเงินในช่วงคลื่นสีน้ำเงิน สามารถประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพในการจัดทาแผนที่ป่าชายเลนในพื้นที่อื่น ๆ เพื่อใช้ในการอนุรักษ์ป่าชายเลนโดยพื้นที่ป่าชายเลนควรจาแนกเป็น 3 เขต ได้แก่ พื้นที่สงวนป่าชายเลน พื้นที่อนุรักษ์ ป่าชายเลน และพื้นที่พัฒนาป่าชายเลน

Downloads