ลักษณะสัณฐานวิทยารูของปูแสมก้ามแดง

Authors

  • สมศักดิ์ บัวทิพย์
  • พิมลรัตน์ ทองโรย
  • พัน ยี่สิ้น

Keywords:

รู, ปูแสม, ป่าชายเลน, ปัตตานี

Abstract

การศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของรูปูแสมก้ามแดง (Episesarma mederi (H. Milne Edwards, 1853)) ในป่าชายเลน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี พบว่า รูปูมีความหนาแน่นเฉลี่ย 9.32±4.21 รู/ตารางเมตร โดยไม่พบ รูปูชนิดนี้บริเวณหาดเลน ปากรูจำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ ปากรูแบบถ้วยหรือกรวย มีขนาดปากรูตั้งแต่ 2-18 เซนติเมตร ขอบรูจะใหญ่ขึ้นตามขนาดปากรู รูส่วนใหญ่มีรัศมีขอบรูไม่เกิน 20 เซนติเมตร มีความสูงของขอบรูตั้งแต่ 0-15 เซนติเมตร ขนาด ปากรูในช่วง 5-10 เซนติเมตร พบมากที่สุด ลักษณะปากรูแบบที่สอง คือ ปากรูแบบจอม ซึ่งลักษณะปากรูแบบนี้แบ่งย่อยออกเป็น 2 แบบ คือ แบบจอมเดี่ยวและจอมกลุ่ม โดยรูแบบจอมเดี่ยวมีขนาดปากรูไม่แตกต่างกับรูแบบอื่นๆ จอมมีความสูงตั้งแต่ 20-53 เซนติเมตร มีขนาดปากรูตั้งแต่ 4-12 เซนติเมตร มีรัศมีขอบรูตั้งแต่ 4-17 เซนติเมตร และขนาดฐานจอมกว้างตั้งแต่ 26-97 เซนติเมตร ส่วนจอมกลุ่มมีขนาดฐานจอมกว้างตั้งแต่ 60-213 เซนติเมตร 75 เซนติเมตร เป็นความสูงของจอมที่พบ สูงที่สุด มีรัศมีขอบรูกว้างได้ถึง 32 เซนติเมตร จอมมีจานวนยอดระหว่าง 3-4 ยอด บางจอมมีรูมากถึง 40 รู และพบว่าปูแสมก้ามแดงสามารถสร้างรูที่มีโครงสร้างแตกต่างกัน 5 แบบ คือ I-shape, L-shape, S-shape, Y-shape และ ฯ-shape โดยรู มีความลึกตั้งแต่ 15-156 เซนติเมตร รูมีความลาดเอียงตั้งแต่ 30o-90o กับผิวดิน และรูส่วนใหญ่มีห้อง ตั้งแต่ 1-5 ห้อง

Downloads