สถานการณ์คุณภาพน้ำบริเวณพื้นที่เลี้ยงปลาในกระชัง: กรณีศึกษา คลองรังสิตประยูรศักดิ์ คลอง 13 อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี

Authors

  • บุณฑริกา ทองดอนพุ่ม
  • กิตติมา วานิชกูล
  • อิสราวดี เชยมาน
  • จิตรคนึง ตังจรินทร์

Keywords:

สถานภาพของแหล่งน้ำ, การเลี้ยงปลาในกระชัง, คลองรังสิตประยูรศักดิ์

Abstract

การศึกษาในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำบริเวณพื้นที่เลี้ยงปลาในกระชัง ในพื้นที่คลองรังสิตประยูรศักดิ์ บริเวณคลอง 13 อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี โดยดำเนินการเก็บตัวอย่างในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 และเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ผลการศึกษาพบว่า ค่าอุณหภูมิของน้ำ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ และค่าความโปร่งแสง มีค่าอยู่ระหว่าง 25.2-32.3 oC 6.9-7.0 2.4-4.9 mg/L และ 19.0-41.0 เซนติเมตร ตามลำดับ ในส่วนของปริมาณแอมโมเนียม-ไนโตรเจน ไนไตรท์และไนเตรท-ไนโตรเจน ซิลิเกต-ซิลิกอน และออร์โธฟอสเฟต-ฟอสฟอรัส มีค่าอยู่ระหว่าง 5.62-23.58 M 13.97-37.21 M 89.90-252.55 M และ 0.40-2.62 M ตามลำดับ ปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ และปริมาณแพลงก์ตอนพืชรวม มีค่าอยู่ระหว่าง 2.67-36.7g/L และ 550-13,976 หน่วยต่อลิตร ตามลำดับ พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 27 สกุล ประกอบด้วยแพลงก์ตอนพืชในดิวิชัน Cyanophyta 6 สกุล ดิวิชัน Chlorophyta 17 สกุล ดิวิชัน Chromophyta 4 สกุล โดยมีแพลงก์ตอนพืชสกุล Lyngbya (Cyanophyta) Pandorina (Chlorophyta) และ Aulacoseira (diatoms) เป็นสกุลเด่น โดยสถานีในคลองรังสิตประยูรศักดิ์ และสถานีที่มีกระชัง เลี้ยงปลา มักพบปริมาณแอมโมเนียม-ไนโตรเจน คลอโรฟิลล์ เอ และปริมาณแพลงก์ตอนพืชรวมสูง เมื่อทาการประเมินสถานภาพของแหล่งน้า พบว่า บริเวณพื้นที่ศึกษามีสถานภาพของแหล่งน้ามีระดับความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง (mesotrophic) จนถึงมีระดับความอุดมสมบูรณ์สูงมาก (hypertrophic)

Downloads