เซ็นเซอร์ทางเคมีเชิงแสงที่เป็นอนุพันธ์ของโรดามีน บี ที่มีีหมู่แนฟทิลไธไอคาร์บาร์ไซด์ เป็นองค์ประกอบสำหรับการตรวจวัดคอปเปอร์ (II) ไอออน
Keywords:
เซ็นเซอร์ทางเคมีเชิงแสง, อนุพันธ์ของโรดามีน, บี คอปเปอร์ (II), ไธโอเซมิคาร์บาร์ไซด์Abstract
ในงานวิจัยนี้ได้ทำการสังเคราะห์ลิแกนด์ L1 ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของโรดามีน บี มีหมู่แนฟทิลไธไอคาร์บาร์ไซด์เป็นองค์ประกอบ เพื่อนำมาใช้เป็นเซนเซอร์ทางเคมีเชิงแสงสำหรับการตรวจวัดไอออนของ Cu2+ โดยใช้สารละลายผสม 5% H2O/CH3CN เป็นตัวทำละลาย จากการศึกษาพบว่าเมื่อมีไอออนของ Cu2+ อยู่ในระบบจะทำให้สารละลายเปลี่ยนสีจากใสไม่มีสีไปเป็นสีม่วง เนื่องจากไอออนของ Cu2+ ไปเหนี่ยวนำให้เกิดการเปิดของวงสไปโรแลกแตม และจากการศึกษาด้วยเทคนิค ฟลูออเรสเซนต์สเปคโฟโตเมทรียังพบว่าไอออนของ Cu2+ สามารถทำให้ความเข้มของสัญญาณฟลูออเรสเซนต์ที่ความยาวคลื่น 579 นาโนเมตร มีค่าเพิ่มขึ้นด้วยกระบวนการถ่ายเทพลังงานแบบ FRET ในโมเลกุลในของ L1 ได้ด้วยเช่นกัน จากการคำนวณหาค่าคงที่ความเสถียรของการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนพบว่ามีค่าเท่ากับ 4.6 × 103 M -1 และการตรวจวัดไอออนของ Cu2+ ด้วยวิธีนี้มีค่าขีดจำกัดของการตรวจวัดเท่ากับ 0.18 ppm A new rhodamine B derivertive -based optical chemosensor L1 was synthesized for the detection of Cu2+ ion in 5% H2O/CH3CN solution. It was found that in the presence of Cu2+ the color solution of L1 was changed from colorless to purple. This is due to the formation of spirolactam ring opening process which induced by Cu2+ . Moreover, Cu2+ can enhance the fluorescence intensity at 579 nm through the energy transfer respect to the FRET process. The complex formation constant was calculated to be 4.6 × 103 M -1 . The analytical detection limit of Cu2+ using this method is 0.18 ppm.Downloads
Issue
Section
Articles