การประมาณผลผลิตอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยด้วยตัวแบบ MLR
Keywords:
ผลผลิตอ้อย, ตัวแบบ MLR, วิธีเซตย่อยที่ดีที่สุด, การถดถอยทีละขั้นตอนAbstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการตรวจสอบตัวแปรอธิบายที่สำคัญซึ่งมีอิทธิพลต่อผลผลิตอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยด้วยตัวแบบ MLR หรือตัวแบบการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ โดยประยุกต์เทคนิคทีละขั้นตอนและวิธีเซตย่อยที่ดีที่สุด เพื่อให้ได้สมการที่เหมาะสม และสอดคล้องกับข้อสมมุติของการถดถอย ผลการศึกษาพบว่า มีตัวแปรอิสระที่สำคัญ 5 ตัว ซึ่งถูกคัดเลือกในสมการถดถอยที่ใช้ในการประมาณค่าผลผลิตอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ได้แก่ พื้นที่เพาะปลูก ปริมาณอ้อยส่งไปยังโรงงาน ราคาเฉลี่ยของอ้อย อุณหภูมิต่ำสุด และจำนวนวันที่ฝนตก ซึ่งสมการถดถอยที่ได้มี ค่าคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการประมาณค่าเท่ากับ 14.7412 สมรรถนะของตัวแบบ MLR ที่ได้ตรวจสอบด้วยรากของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย ซึ่งพบว่าตัวแบบ MLR ที่ได้ประมาณผลผลิตอ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยรากของค่า คลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยที่มีค่าน้อย ซึ่งมีค่าเท่ากับ 12.7802 This study investigated the significant explanatory variables influenced to the sugar cane yield in the northeast of Thailand with MLR (multiple linear regression) model. Best subsets and stepwise techniques were applied to gain the suitable MLR equation compiling with assumption of regression. The result of study revealed there were 5 important independent variables; Cultivated area, sugar cane quantity sent to factories, average price of sugar cane, minimum temperature and number of rainy days, selected in the estimated regression equation with 14.7412 for standard error of estimation. The performance of MLR model was verified with the root mean square error (RMSE). It indicated that the MLR model efficiently estimated the sugar cane yield with the small value of RMSE (12.7802).Downloads
Issue
Section
Articles