การตอบสนองด้านสรีรวิทยาและจัดกลุ่มข้าวหอมพันธุ์ไทย 4 พันธุ์ต่อภาวะเครียดจาก ความเค็มจากเกลือโซเดียมคลอไรด์

Authors

  • ธีระรัตน์ อุบลรัตน์
  • เกศราภรณ์ จันทร์ประเสริฐ
  • วาสินี พงษ์ประยูร

Keywords:

ข้าวหอม, การตอบสนองด้านสรีรวิทยา, ภาวะเครียดจากความเค็ม

Abstract

          ดินเค็มเป็นปัญหาที่สำคัญต่อการผลิตข้าว ซึ่งมีรายงานว่าอ่อนแอต่อความเค็ม โดยเฉพาะในระยะต้นกล้า ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาการตอบสนองทางด้านสรีรวิทยาต่อภาวะเครียดจากความเค็มในข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ สุพรรณบุรี 1 ปทุมธานี 1 และขาวดอกมะลิ 105 ต้นกล้าข้าวได้รับภาวะเค็ม 2, 4, 6, 8 หรือ 10 เดซิซีเมนต์ ต่อเมตร (dS m -1 ) โดยบันทึกค่าการเจริญเติบโต ปริมาณรงควัตถุ ปริมาณน้ำในใบสัมพัทธ์ และปริมาณโพรลีน หลังได้รับความเครียดที่ระดับความเค็ม 8 dS m -1 เป็นเวลา 14 วัน พบว่า น้ำหนักสดต้น น้ำหนักแห้งต้น ความยาวใบ และปริมาณ น้ำในใบสัมพัทธ์ของข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่เพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม นอกจากนี้ ข้าว 4 พันธุ์ ถูกจัดจำแนก ออกเป็น 2 กลุ่ม ตามข้อมูลด้านการเจริญเติบโตและปริมาณรงควัตถุ กลุ่มแรก ได้แก่ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ ที่ยังคงรักษาระดับของการเจริญเติบโตได้ดีในขณะที่กลุ่มที่สอง ได้แก่ข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ปทุมธานี 1และขาวดอกมะลิ 105 มีระดับ การเจริญเติบโตลดลง เมื่อพิจารณาในข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ที่มีการตอบสนองต่อความเค็มด้วยการสร้างสารโพรลีนเพิ่มมากขึ้น ชี้ให้เห็นว่าข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นข้าวหอมพันธุ์ทนเค็มโดยผ่านกลไกการสะสมสารโพรลีนช่วยปรับค่าแรงดันออสโมติก ภายใต้ภาวะเครียดจากความเค็ม           Salt affected soil is a member of abiotic stresses to play as major barrier in rice production, which has been reported as salt susceptible. The objective of this research was to investigate the physiological responses to salt stress in rice cultivars including Riceberry, Suphan Buri 1, Pathum Thani 1 and Khao Dawk Mali 105. Rice seedlings were subjected to NaCl salt stress treatment at 2, 4, 6, 8 or 10 dS m -1 . Growth parameters, photosynthetic pigment contents, relative water content and free proline content were investigated. After 14 days of NaCl treatment with 8 dSm-1 , the shoot fresh weight, shoot dry weight, leaf length and relative water content of Riceberry seedlings were enhanced in comparison with the control (without salt stress treatment). Moreover, four rice cultivars were classified into 2 groups based on growth parameters and photosynthetic pigment contents. For the first group, all growth parameters in Riceberry were maintained, while the second group (Suphan Buri 1, Pathum Thani 1 and Khao Dawk Mali 105cultivars) the growth performances under salt stress conditions were declined. It was noted that only Riceberry had dramatically responded to salt tress by elevating its proline content, suggesting that the Riceberry might be a salt-tolerant rice cultivar via proline accumulation mechanism as an osmoregulation under salt stress

Downloads