ทีโนโฟเวียร์และพิษต่อไตระดับเซลล์

Authors

  • วิศิษฎ์ ตันหยง
  • พีรยศ ภมรศิลปะธรรม
  • ฉัตชัย ฉิ่นไพศาล

Keywords:

ทีโนโฟเวียร์, ไมโตคอนเดรีย, กลัยโคโปตีน, ท่อไตส่วนต้น, พิษต่อไต

Abstract

          ทีโนโฟเวียร์ เป็นยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีและไวรัสตับอักเสบ ชนิดบี ในปัจจุบันอาการอันไม่พึงประสงค์ที่สำคัญ คือ พิษต่อไต พบอัตราอุบัติการณ์ที่ร้อยละ 10 - 22 และ ร้อยละ 5 - 18 ในประชากรชาวยุโรปและไทย ตามลำดับ กลไกการเกิดพิษต่อไตระดับเซลล์ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่น่าจะเกิดจากการที่ยานี้สามารถยับยั้งการทำงานของ เอนไซม์ mtDNA polymerase ชนิด g ผลดังกล่าวเชื่อว่าจะทำให้เกิดการตายของเซลล์แบบ apoptosis ผ่านการกระตุ้น caspase- 9 เหมือนกับยาอะดิโฟเวียร์และซิโดโฟเวียร์ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ได้รับการสนับสนุนมากที่สุดจากกลุ่มนักวิจัย เพราะพิษต่อไตที่พบได้บ่อยจากยาทีโนโฟเวียร์ คือ กลุ่มอาการ Fanconi’s syndrome และผลจากชิ้นเนื้อของผู้ป่วยที่ได้รับพิษ ต่อไตจากยาทีโนโฟเวียร์แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามีขนาด รูปร่างและจำนวนของไมโตคอนเดรียที่ผิดปกติอย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามจากการทบทวนวรรณกรรมในช่วงปี 2006 ถึง 2016 ยังไม่มีการศึกษาใดที่แสดงกลไกในระดับเซลล์ของการเกิดพิษต่อไตจากยาทีโนโฟเวียร์ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการศึกษาต่อไปในอนาคต ดังนั้นจึงสามารถสรุปกลไกการเกิดพิษ ต่อไตจากยาทีโนโฟเวียร์ได้ว่าน่าจะเกิดจากการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ mtDNA polymerase ชนิด g ผลดังกล่าว ทำให้เกิดการตายของเซลล์ท่อไตส่วนต้นแบบ apoptosis ผ่านการกระตุ้นเอนไซม์ caspase- 9 ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ได้รับการสนับสนุนมากที่สุด           Tenofovir disoproxil fumarate (TDF) is a high potency of anti-HIV and anti-hepatitis B virus drug. Currently, the limited use of this drug in the clinical setting is nephrotoxicity. The incidence of tenofovir-induced nephropathy is10-22 percent and 5- 18 percent in Europe and Thai population in respectively. The inhibition properties of mtDNA polymerase g encoded by POLG gene has been proposed to play a central role in tenofovir-induced mitochondrial toxicity which contributed to nephropathy. Although tenofovir has not been studied, admittedly theory is supported that this drug was induced proximal tubular apoptosis by leading to caspase-9 activation as similar as another drug in the classification of nucleotide-analog reverse transcriptase inhibitors such as adefovir and cidofovir. This theory is supported by the observation that Fanconi’s syndrome is the most common renal manifestation of mitochondria cytopathies, there are presented in the most reported cases of tenofovir- associated nephropathy. Moreover, the histopathology that observed under electron microscopy was attest the supported theories because it showed the identical data of mitochondrial enlargement, depletion and dysmorphic changes. However, there is no study was performed to demonstrate the exactly mechanism of tenofovir-induced nephrotoxicity at cellular level, in our reviewed during 2006 -2016, then the further study to demonstrate this effects should be employed. In summary, the most encouraged mechanism of tenofovir- induced nephropathy at cellular level is associated to the inhibition of mtDNA polymerase g enzyme which conduce towards to induced proximal tubular cell apoptosis by leading to caspase - 9 activation.

Downloads