การดัดแปรกากมันสำปะหลังเพื่อดูดซับไอออนตะกั่วจากสารละลาย

Authors

  • ณัฏฐ์คณิน ศุภเมธานนท์
  • ณัฏฐ์ธยาน์ บุตรวงศ์
  • กาญจนาพร จันทร์สูงเนิน
  • ภาวิณี วอนอก

Keywords:

การดูดซับ, ไอออนตะกั่ว, กากมันสำปะหลัง, วิธีแซนเทต, จลนศาสตร์

Abstract

          งานวิจัยนี้ศึกษาการกำจัดไอออนตะกั่วในสารละลายด้วยกระบวนการดูดซับโดยใช้กากมันสำปะหลังดัดแปรด้วยวิธี แซนเทต (CRX) เป็นตัวดูดซับ และศึกษาสมบัติของตัวดูดซับ ด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี และการวัดศักย์ซีต้า รวมทั้งศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อประสิทธิภาพของตัวดูดซับ ได้แก่ ชนิดตัวดูดซับ (ตัวดูดซับกากมัน สำปะหลัง (CR) และตัวดูดซับกากมันสำปะหลังดัดแปรด้วยวิธีแซนเทต) ค่าพีเอช และปริมาณความเข้มข้นเริ่มต้นของสารละลายไอออนตะกั่ว พบว่าตัวดูดซับ CRX มีประสิทธิภาพการดูดซับสูงถึง 80.74 เปอร์เซ็นต์ที่สภาวะการทดลองดังนี้ ความเข้มข้นเริ่มต้นของสารละลายตะกั่ว (II) ไอออน 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณตัวดูดซับ 0.50 กรัมต่อลิตร ค่าพีเอช 5 และ เวลาในการดูดซับ 30 นาทีการดูดซับไอออนตะกั่วด้วยตัวดูดซับ CRX สอดคล้องกับแบบจำลองจลนศาสตร์แบบอันดับสองเทียม และไอโซเทอมการดูดซับของแลงเมียร์ความจุของการดูดซับตะกั่ว (II) ไอออนสูงสุดจากสมการไอโซเทอมการดูดซับของแลงเมียร์เท่ากับ 250.00 มิลลิกรัมต่อกรัม ดังนั้นการดัดแปรกากมันสำปะหลังด้วยวิธีแซนเทตมีศักยภาพที่จะใช้เป็นตัวดูดซับ ในการกำจัดโลหะหนักในน้ำเสียได้           In this work, the use of cassava residue xanthate (CRX) as adsorbent for the removal of lead (II) ion from aqueous solution was investigated. The CRX was prepared by Xanthate method. Fourier Transform Infrared Spectroscopy (FTIR) and Zeta potentials were used for characterization the prepared CRX. The parameters effective the experiments were studied including type of adsorbent (cassava residue (CR) and modified cassava residue), pH, and initial lead (II) ion concentration. It was found that the optimum condition was 100 mg/L of initial concentration lead (II) ion, 0.50 g/L of XCR adsorbent dosage with pH of 5.0 and contact time of 30 min, the percentage of adsorption was 80.74. The adsorption behaviors of lead (II) ion on CRX fit both the pseudo-second order kinetic model and the Langmuir isotherm model. The maximum adsorption capacity from the Langmuir isotherm equation was 250.00 mg/g. Thus, the cassava residue xanthate has the potential to be used as the adsorbent for the removal of heavy metals in waste water.

Downloads