การศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของนิสิตและบุคลากร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

Authors

  • สาลินี ศรีวงษ์ชัย
  • ปรมัตถ์ เศรษฐี
  • ศรีปัญญา ประสงค์สุข

Keywords:

ขยะมูลฝอย, การจัดการขยะมูลฝอย, พฤติกรรม

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปริมาณและองค์ประกอบขยะมูลฝอย โดยทำการสำรวจเชิงปริมาณ 7 วันต่อเนื่องกันในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 และ 2) ศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของนิสิต และบุคลากรมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนิสิตและบุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างให้เป็นตามแนวทางของยามาเน่ จำนวน 309 คน สถิติที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบ คือ ค่าที (t-test Independent) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษา พบว่าปริมาณขยะมูลฝอยเฉลี่ย 57.70 กิโลกรัมต่อวัน อัตราการผลิตขยะมูลฝอยเฉลี่ย 0.04 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน และวันอังคารเป็นวันที่มีอัตราการผลิตขยะมูลฝอยสูงสุด 0.08 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน องค์ประกอบขยะมูลฝอยมากที่สุด คือ พลาสติกและโฟม ร้อยละ 27.84 รองลงมา ได้แก่ ขยะทั่วไปร้อยละ 24.47 และเศษอาหารร้อยละ 15.77 ตามลำดับ การศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย ในมหาวิทยาลัยฯ พบว่านิสิตและบุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอยและมีพฤติกรรมการจัดการขยะมูล ฝอยในระดับมาก ส่วนความคิดเห็นต่อการบริหารการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับปานกลาง การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผล ต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยในมหาวิทยาลัยฯ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าเพศ อายุและอาชีพ ต่างกันมีผลต่อความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอยและพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ระดับการศึกษาต่างกันมีผลต่อความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอย และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนความคิดเห็นของนิสิตและบุคลากรต่อการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของมหาวิทยาลัยฯ พบว่าเพศ อายุ ระดับการศึกษาและอาชีพต่างกันมีผลต่อความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการขยะมูลฝอยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะนำไปใช้เป็นข้อมูล พื้นฐานเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการขยะมูลฝอยให้กับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้วต่อไป           The objectives of this study were to 1) investigate the quantity and composition of solid wastes by quantitative surveying of 7 consecutive days in October 2015 and 2) study on behavior of participation in solid waste management of Burapha University Sakaeo Campus’s students and personnel. This study employed the questionnaire and randomized a sample group size 309 as specified by Taro Yamane formula. The statistical instruments used to analyze the data were frequency, percentage, mean and standard deviation. The t-test and one way ANOVA were used in analysis and comparison. The results showed that there were57.70 kg/d, and 0.04 kg/c/d of the solid waste average quantity and production rate, respectively. The compositions were plastics and foams 27.84%, followed by general wastes 24.47% and food wastes 15.77%, respectively. The study on behavior of participation in solid waste management indicated to the students and personnel had the knowledge of solid waste management and behavior of solid waste management at high level, while, they expressed their opinions on Burapha University Sakaeo Campus waste management moderately. The comparison factors affecting waste management behavior, we found that the different of genders, ages, and occupation affected the knowledge of solid waste management and the behavior of solid waste management at significant level of .05 whereas levels of education were no affecting. Factor affecting the opinion on Burapha University Sakaeo Campus waste management had no statistical significance at .05 by genders, ages, levels of education and occupation. The information obtained from this study will be used as the basis to determine the suitable managerial proposal of solid waste management of Burapha University Sakaeo Campus.

Downloads