ความหลากชนิดของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินและการประยุกต์ใช้เป็นดัชนีชีวภาพ ประเมินคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนน้ำอูน จังหวัดสกลนคร

Authors

  • บุญทิวา ชาติชำนิ
  • อมรรัตน์ รังสิวิวัฒน์
  • สายฝน แก้วดอนรี
  • สมศักดิ์ ระยัน

Keywords:

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง, ความหลากหลายชนิดพันธุ์, BMWPthai, ASTPthai, เขื่อนน้ำอูน

Abstract

          ความหลากชนิดของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในอ่างเก็บน้ำเขื่อนน้ำอูน จังหวัดสกลนคร ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2556 ถึง เดือนตุลาคม 2557 พบสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินรวมทั้งสิ้น 14,139 ตัว จำแนกได้ 22 วงศ์ 24 ชนิด วงศ์ Belostomatidae และวงศ์ Nepidae พบจำนวนชนิดมากที่สุด 2 ชนิดเท่ากัน วงศ์ Palaemonidae มีความชุกชุมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70.20 รองลงมาเป็นวงศ์ Ampullariidae วงศ์ Coenagrionidae วงศ์ Viviparidae และวงศ์ Corbiculidae คิดเป็นร้อยละ 10.33 6.04 3.23 และ 2.14 ตามลำดับ การประยุกต์ใช้ดัชนีชีวภาพบีเอ็มดับเบิ้ลยูไทย (BMWPthai) และเอเอสทีพี ไทย (ASTPthai) ที่ถูกปรับปรุงให้เหมาะกับการใช้ในแหล่งน้ำของประเทศไทย พบว่า ค่าเอเอสทีพีไทยของอ่างเก็บน้ำ เขื่อนน้ำอูน มีค่าเท่ากับ 4.82 อยู่ในเกณฑ์คุณภาพน้ำทั่วไประดับค่อนข้างสกปรก อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน ประเภท 4 เป็นแหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่อการอุปโภคและบริโภค โดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติและผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำเป็นพิเศษก่อน และเพื่อการอุตสาหกรรม ดังนั้นการประยุกต์ใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินเป็นตัวชี้วัดคุณภาพน้ำสามารถดำเนินการได้ด้วยดัชนีชีวภาพบีเอ็มดับเบิ้ลยูไทย และเอเอสทีพีไทย อีกทั้งมีการแปลผลและรายงานผลไม่ซับซ้อนสามารถเข้าใจได้ง่าย หากมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสามารถสร้างมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับได้ต่อไป           The diversity of Benthic Macroinvertebrate species were investigated Nam Oun Reservoir, Sakon Nakhon Province during November 2013 through October 2014. The result showed that 14,139 Benthic Macroinvertebrate with 24 species with 22 families were discovered in the area. Aquatic insect orders Belostomatidae and Nepidae were equally the most abundance. Palaemonidae was the most abundance at 70.20 % followed by Ampullariidae, Coenagrionidae, Vivaparidae and Corbiculidae at 10.33 %, 6.04 %, 3.23 %, and 2.14 % respectively. The BMWPthai and ASTPthai could be applied for reservoir in Thailand and used to assess water quality. The research finding found that the score ASTPthai was at 4.82 indicated that the water quality was quite poor and was classified in surface water quality standards class 4. This class 4 was the fairly clean fresh surface water resources used for: consumption, but requires special water treatment process before using and industry. Therefore, the application of using Benthic Macroinvertebrate as bioindicators of water quality can be conducted by using BMWPthaiand ASTPthai. In addition, the analysis and report were uncomplicated. This application could be developed and make it acceptable in the near future.

Downloads