การสร้างแผนที่ความอ่อนไหวในการเกิดน้ำท่วมโดยใช้วิธีอัตราส่วนความถี่ บริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ภาคใต้ของประเทศไทย
Keywords:
น้ำท่วม, อัตราส่วนความถี่, แผนที่ความอ่อนไหว, พื้นที่ใต้เส้นโค้ง, ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาAbstract
วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้คือ ประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดน้ำท่วม (ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง ความลาดชัน การระบายน้ำของพื้นผิวดิน ความหนาแน่นของทางน้ำ ความหนาแน่นของเส้นทางถนน และการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน) เพื่อทำแผนที่ความอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยนำปัจจัยดังกล่าวมาวิเคราะห์ร่วมกับพื้นที่น้ำท่วมที่เคยเกิดขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550- 2557 และสร้างแผนที่ความอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วม โดยวิธีอัตราส่วนความถี่ (Frequency Ratio: FR) ผลจากการจำแนกพื้นที่ความอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วม แบ่งออกเป็น 5 ระดับ พบว่า พื้นที่ที่มีความอ่อนไหวมากที่สุดครอบคลุมพื้นที่ 1,907.96 ตร.กม. คิดเป็น 22.19% ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ที่มีความอ่อนไหวมาก ครอบคลุมพื้นที่ 1,863.88 ตร.กม. คิดเป็น 21.67% ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ที่มีความอ่อนไหวปานกลาง ครอบคลุมพื้นที่ 1,171.03 ตร.กม. คิดเป็น 13.62% ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ที่มีความอ่อนไหวน้อย ครอบคลุมพื้นที่ 1,961.25 ตร.กม. คิดเป็น 22.81% ของพื้นที่ทั้งหมด และพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวน้อยที่สุด ครอบคลุมพื้นที่ 1,695.51 ตร.กม. คิดเป็น 19.72% ของพื้นที่ทั้งหมด แผนที่ความอ่อนไหว ต่อการเกิดน้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีความถูกต้องของการพยากรณ์เท่ากับ 88.12% และการใช้อัตราส่วน ความถี่สามารถพยากรณ์พื้นที่น้ำท่วมได้ 86.27% The purpose of this study, Geographic Information System (GIS) and factors that contribute to the flooding (altitude, slope, surface drainage, stream network density, and land use and land cover) were applied in order to create the flood susceptibility map at Songkhla lake basin. All factors were analyzed with flood areas between 2007-2014. Flood susceptibility mapping was illustrated by frequency ratio method and categorized into five classes namely; 1) the very high susceptibility area was 1,907.96 sq.km. (22.19% of the total area), 2) the high susceptibility area was 1,863.88 sq.km. (21.67% of the total area), 3) the moderate susceptibility area was 1,171.03 sq.km. (13.62% of the total area), 4) the low susceptibility area was 1,961.25 sq.km. (22.81% of the total area), and 5) the very low susceptibility area was 1,695.51 sq.km. (19.72% of the total area). The mapping validation effort was examined by using area under curve for flood area. It showed that the success rate curve was 88.12% and the prediction rate curve was 86.27%.Downloads
Issue
Section
Articles