การเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายเชิงพื้นที่และฤดูกาลของพรรณไม้น้ำ ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนน้ำอูน จังหวัดสกลนคร ประเทศไทย

Authors

  • สมศักดิ์ ระยัน
  • อมรรัตน์ รังสิวิวัฒน์
  • สุกัญญา คำหล้า
  • บุญทิวา ชาติชำนิ

Keywords:

พรรณไม้น้ำ, ความหลากหลาย, การแพร่กระจาย, การวิเคราะห์ตัวแปรแบบพหุ

Abstract

          การเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายเชิงพื้นที่และฤดูกาลของพรรณไม้น้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนน้ำอูน จังหวัดสกลนคร ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2556 - เดือนตุลาคม 2557 โดยแบ่งเป็น 4 ฤดูกาล ตามการเปลี่ยนแปลงทางอุทกวิทยาใน 3 เขตพื้นที่ จำนวน 6 สถานี พบพรรณไม้น้ำ 57 ชนิด 31 วงศ์ จำแนกตามประเภทลอยน้ำ โผล่พ้นน้ำ ใต้น้ำ และชายน้ำ พบจำนวน 8, 3, 7 และ 39 ชนิด ตามลำดับการเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายของชนิดและปริมาณพรรณไม้น้ำในแต่ละครั้งของการสำรวจ (สถานี*ฤดูกาล) พบว่า ฤดูกาลมีอิทธิพลต่อการแพร่กระจายของพรรณไม้น้ำด้านมวลชีวภาพแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) พรรณไม้น้ำที่พบได้บ่อยครั้งและมีมวลชีวภาพสูงสุด ได้แก่ ไมยราบยักษ์ (Mimosa pigraL.) สาหร่ายข้าวเหนียว (Utricularia aureaLour.) และ แห้วทรงกระเทียม (Eleocharis dulcis (Burm.f.) Trin ex Henschel) ตามลำดับ โดยฤดูฝน (T4) มีความหลากหลายของพรรณไม้น้ำมากที่สุด ส่วนฤดูปรับเปลี่ยนจากฝนสู่แล้ง (T1) มีมวลชีวภาพสูงสุด เมื่อทำการจัดกลุ่มความคล้ายคลึงกันตามองค์ประกอบของมวลชีวภาพตามฤดูกาล สามารถแบ่งพรรณไม้น้ำชนิดเด่นได้เป็น 3 กลุ่ม โดยพรรณไม้น้ำประเภทชายน้ำเป็นชนิดเด่นสามารถพบได้ทั้งพื้นที่อ่างเก็บน้ำ           Spatial and seasonal variations of aquatic plants were investigated from November, 2013 to October, 2014 in Nam Oun reservoir, Sakon Nakhon province, Thailand. Samplings of aquatic plants were conducted in 4 hydrological seasons, total of 6 stations, within 3 zones. Altogether, 57 species and 31 families were recorded and categorized into floating, emergent, submerged and marginal (8, 3, 7, and 39 species, respectively). Variations of species and abundance of macrophytes were surveyed (station*season). The seasons had significantly affected on biomass of aquatic plants (p<0.05). M. pigra L., U. aurea Lour. and E. dulcis Burm.f. were the most commonly found aquatic plants and had the highest biomass. The rainy season (T4) had the most diverse species. However, the highest biomass was observed during rainy to dry season (T1). Cluster analysis was used to determine biomass on seasons, which resulted in 3 major clusters. Marginal type of aquatic plants can be found in all groups, and reservoir area.

Downloads