การศึกษาภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรรักษาโรคโลหิตระดูสตรีของหมอพื้นบ้าน ในจังหวัดกระบี่และสงขลา

Authors

  • เกศริน มณีนูน
  • บดินทร์ ชาตะเวที
  • จอมขวัญ ดำคง
  • นัฐพล เคียนขัน
  • นงลักษณ์ กุลวรรัตต์

Keywords:

พืชสมุนไพร, โรคโลหิตระดูสตรี, จังหวัดกระบี่, จังหวัดสงขลา, medicinal plants, Menstrual Disorders

Abstract

          การศึกษาภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรรักษาโรคโลหิตระดูสตรีของหมอพื้นบ้านในจังหวัดกระบี่และสงขลา โดยการ สัมภาษณ์หมอพื้นบ้านจำนวน 11 คน ด้วยแบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง (semi-structured interview) ร่วมกับการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมถึงชนิดสมุนไพรที่ใช้ประกอบตำรับยา การศึกษาครั้งนี้รวบรวมตำรับยาได้ทั้งหมด 115 ตำรับ จำแนกตามกลุ่มอาการ ได้ 9 กลุ่มโดยพบตำรับยาที่ใช้รักษากลุ่มอาการประจำเดือนมาไม่ปกติมากที่สุด (33 ตำรับ) รวบรวมเภสัชวัตถุได้ทั้งหมด 284 ชนิด แบ่งเป็น สัตว์วัตถุ 6 ชนิด ธาตุวัตถุ 10 ชนิด และพืชวัตถุ 268 ชนิด โดยพืชวัตถุจำแนกได้ 84 วงศ์ วงศ์ที่พบมากที่สุดคือ Fabaceae จำนวน 22 ชนิด พืชสมุนไพรที่หมอพื้นบ้านทุกคนใช้ซ้ำกัน คือฝาง (Caesalpinia sappan L.) และ พริกไทย (Piper nigrum L.) พืชสมุนไพรที่มีค่าการใช้ (Use value; UV) สูงสุด คือ ขิง (Zingiber officinale Roscoe) และ ดีปลี (Piper retrofractum Vahl.) (UV=5.091) กลุ่มอาการที่มีค่าความสอดคล้องการใช้สมุนไพร (Informant Consensus Factor; ICF) มากที่สุดคือ ประจำเดือนมาไม่ปกติ (ICF=0.91) และพบว่าส่วนที่อยู่ใต้ดิน มีการนำมาใช้มากที่สุด และนิยมเตรียมยาโดยการต้มดื่ม การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาครั้งแรกที่ได้รวบรวมภูมิปัญญาการรักษาโรคโลหิตระดูสตรีของหมอพื้นบ้านในจังหวัด กระบี่ และสงขลา ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าส่วนใหญ่สตรีในชุมชนมีความเชื่อมั่นในการรักษาโรคโลหิตระดูสตรีโดยการใช้สมุนไพร และยังคงมั่นใจในการรักษาโรคของหมอพื้นบ้านที่มีประสบการณ์           A study on the utilization of traditional knowledge for the treatment of menstrual disorders used by 11 experienced traditional healers in Krabi and Songkhla provinces. Data was obtained by using semi - structured interview and participant observations in the making of remedies for menstrual disorders, the selection of medicinal plants for each prescription and the traditional diagnostic method. Plant specimens were collected and identified according to the plant taxonomic method except common species were identified in the study sites. Nine groups of menstrual disorders were found, along with the 115 formulas to treat these maladies. The most frequently mentioned uses were treatment of oligomenorrhea (33formulas). According to the study, 284 materia medica were found, including animals (6 species), minerals (10 kinds) as well as 268 species of medicinal plants which belonging to 84 families. The most represented family was Fabaceae (22 species). Two plant species were used by all traditional healers were Caesalpinia sappan L. and Piper nigrum L.. The highest use values (UV) were calculated for Zingiber officinale Roscoe and Piper retrofractum Vahl. (UV=5.091). The highest Informant consensus factor (ICF) was recorded for the treatment of oligomenorrhea (ICF=0.91). The underground parts were the most frequently used to make the prescription for healing and the decoction was the main mode of preparation. The study is the first report of traditional knowledge of traditional healers in Krabi and Songkhla provinces. The study indicates that women in the rural areas have been relied on the healing properties of medicinal plants and the treatment of experienced traditional healers.

Downloads