ผลของระดับอุณหภูมิต่อการผลิต ephyra ของแมงกะพรุนถ้วย (Catostylus townsendi Mayer, 1915) ในห้องปฏิบัติการ
Keywords:
แมงกะพรุนถ้วย, เอฟีร่า, อุณหภูมิ, Catostylus townsendi, ephyra, temperatureAbstract
การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่เหมาะสมจะหาระดับอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการผลิต ephyra ของ scyphistoma (polyp) แมงกะพรุนถ้วย (Catostylus townsendi) ในห้องปฏิบัติการ โดยสุ่มตัวอ่อนแมงกะพรุนถ้วยในระยะ polyp จำนวน 45 ตัว ใส่ลงในภาชนะทดลองพลาสติก ขนาดความจุ 150 มิลลิลิตร จำนวน 1 polyp ต่อหนึ่งภาชนะทดลอง แบ่งออกเป็น 3 ชุดทดลอง ชุดทดลองละ 15 ซ้ำ นำไปเลี้ยงไว้ในกล่องโฟม ที่ควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่แตกต่างกัน 3 ระดับ คือ 25.0, 27.0 และ 30.0 (ควบคุม) องศาเซลเซียส (°C) เป็นระยะเวลา 60 วัน ผลการทดลองแสดงว่า ระดับอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ไม่มีผลต่ออัตรารอดของ polyp เมื่อสิ้นสุดการทดลอง และจำนวนของ ephyra ที่รวบรวมได้ทั้งหมดตลอดการทดลอง (p>0.05) โดย polyp มีอัตรารอดเฉลี่ย (±SE) อยู่ระหว่าง 80.0 ± 10.7 - 86.7 ± 9.1 % และจำนวน ephyra ที่ผลิตได้เฉลี่ย (±SE) เท่ากับ 13.6±1.2, 15.6±1.9, 15.9±1.0 ตัวต่อ polyp ที่อุณหภูมิ25.0, 27.0 และ 30.0 °C ตามลำดับ และพบว่าระดับของอุณหภูมิที่แตกต่างกันมีผลต่อขนาดของ ephyra โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย (±SE) สูงสุดเท่ากับ 2.10±0.03a มิลลิเมตร เมื่อเลี้ยงที่อุณหภูมิ 25.0 °C และมีขนาดเล็กสุดเท่ากับ 1.81±0.03b มิลลิเมตร และ 1.78±0.03b มิลลิเมตร (p<0.01) ที่อุณหภูมิ 27.0 และ 30.0 °C ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบอีกว่าที่อุณหภูมิ 30.0 °C มีแนวโน้มทำให้ ephyra : มีรูปร่างที่ผิดปกติไปจากเดิมมากที่สุดเฉลี่ย (±SE) 24.8±3.3a% ซึ่งแตกต่างจาก ephyra ของแมงกะพรุนถ้วยที่เลี้ยงที่อุณหภูมิ 25.0 และ 27.0 °C (p<0.01) ที่มีความผิดปกติของ ephyra เฉลี่ย (±SE) 21.1±5.5ab % และ 10.4±14.9b % ตามลำดับ สรุปได้ว่าระดับอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการผลิต ephyra ของแมงกะพรุนถ้วยเท่ากับ 25.0 °C เพราะสามารถผลิต ephyra ในห้องปฏิบัติการได้มีขนาดใหญ่ และสมบูรณ์ที่สุด A 60-day experiment was conducted to investigate the effects of temperature on ephyra production of the scyphozoan jellyfish, Catostylus townsendi reared in the laboratory. Forty-five polyps were used in the experiment which each polyp was stocked in a 150 ml plastic bowl. Fifteen replicates bowls were used for each of the 3 treatments (at25.0, 27.0 and 30.0 °C). Each replicate was kept in a foam box to maintain the temperature via a chiller. The results showed that there were no significant differences in average survival rates of polyp or average number of ephyrae produced at different temperatures. The survival rates at the end of the experiment ranged between 80.0±10.7 and 86.7±9.1% (± SE), and the average number of ephyrae released were 13.6±1.2, 15.6 ±1.9, 15.9±1.0 individual per polyp (± SE) at 25.0, 27.0 and 30.0 °C, respectively. Increased in temperature greatly decreased the average diameter of ephyra which the largest ephyra was found at 25.0 °C (2.10±0.03 a mm) while the smaller ephyrae were found at 27.0 and 30.0°C. (1.8±0.03bmm and 1.7±0.03b mm) (± SE) (p<0.01). Additionally temperature increasing alsoincreased the number of abnormal ephyrae. The highest percentage was found at 30.0°C (24.8±3.3%a) while the lower percentages were 21.1±5.5%ab and 10.1±4.9%b at 25.0 °C and 27.0 °C, respectively (p<0.01).The overall results suggest that the jellyfish polyp, Catostylus townsendi reared at 25.0°C in the laboratory were most suitable for ephyrae production as it has no affected on the survival rate of the polyp, produced the largest number of ephyrae with lowest but produced larger and low percentage of abnormalities.Downloads
Issue
Section
Articles