การสะสมและเคลื่อนย้ายโลหะหนักในป่าชายเลนชุมชนบ้านแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี

Authors

  • แววตา ทองระอา
  • ฉลวย มุสิกะ
  • วันชัย วงสุดาวรรณ
  • อาวุธ หมั่นหาผล

Keywords:

โลหะหนัก, ป่าชายเลน, ดินตะกอน, พืชป่าชายเลน, บ้านแหลมฉบัง, heavy metal, mangrove, sediment, mangrove plant, Ban Laemchabang

Abstract

          ป่าชายเลนมีความสำคัญในการเป็นแหล่งสะสมและกักเก็บโลหะหนัก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสะสมโลหะหนักปรอท ตะกั่ว แคดเมียม นิเกิล สังกะสี ทองแดง และเหล็ก ในดินตะกอนป่าชายเลนชุมชนบ้านแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี และความสามารถของพืชป่าชายเลนสกุลแสม (Avicennia) ซึ่งประกอบด้วยแสมขาว (A. alba) และแสมดำ (A. officinalis) ในการสะสมและเคลื่อนย้ายโลหะหนักในรากและใบ ผลการศึกษา พบว่าค่าสูงสุดของโลหะหนักเกือบทุกชนิดในดินตะกอนพบบริเวณก่อนเข้าสู่ป่าชายเลน และต่ำสุดที่บริเวณออกจากป่าชายเลนไปสู่ทะเล ดินตะกอนในป่าชายเลนจึงช่วยลดการพัดพาโลหะหนักออกสู่ทะเล การสะสมโลหะหนักในดินตะกอนและเนื้อเยื่อพืชมีลำดับการสะสมที่สอดคล้องกัน คือ เหล็ก > สังกะสี > ทองแดง > ตะกั่ว > นิเกิล > แคดเมียม > ปรอท ความเข้มข้นของโลหะหนักทุกชนิดพบสูงสุดในดินตะกอน ส่วนในรากและใบไม่แตกต่างกัน พืชป่าชายเลนสกุลแสมมีความสามารถสะสมโลหะหนักได้น้อย (ค่า BCF < 1) การเคลื่อนย้ายโลหะหนักจากรากไปสู่ใบพบสูงเฉพาะ ปรอท ตะกั่ว ทองแดง นิเกิล และ สังกะสี (ค่า TF > 1) เนื่องจากค่า BCF ที่ต่ำมากนี้ทำให้พืชป่าชายเลนทั้งแสมขาวและแสมดำไม่เหมาะนำมาใช้บำบัดโลหะ หนักในพื้นที่ป่าชายเลนแห่งนี้จึงควรทำการศึกษาเพิ่มเติมกับพืชป่าชายเลนชนิดอื่นต่อไป รวมทั้งศึกษารูปทางเคมีของ โลหะหนักในดินตะกอนด้วย           Mangroves play an important role as natural sinks for heavy metals. This study aimed to investigate the accumulation of heavy metals (Hg, Pb, Cd, Ni, Zn, Cu and Fe) in the mangrove sediments from Ban Laemchabang Community, Chon Buri Province. The ability of mangrove plants of the genus Avicennia consisting of A. alba and A. officinalis to accumulate and translocate heavy metals within their roots and leaves was also investigated. The results showed that the highest concentrations of almost all the heavy metals in the sediments were found in the area before entering the mangrove and the lowest concentrations were found in the area outside the mangrove to the sea. Therefore, the sediments could reduce the metals transport to the sea. The accumulation of heavy metals in the sediments and plant tissues was in the same order: Fe > Zn > Cu > Pb > Ni > Cd > Hg. The concentrations of all the heavy metals were highest in the sediments, while those in the roots and leaves were not significantly different (p > 0.05). The ability of mangrove plants to accumulate heavy metals was very low (BCF values < 1). In addition, the metal transferability from the roots to leaves was high only for Hg, Pb, Cu, Ni and Zn (TF values > 1). Due to the low BCF values, the mangrove plants (A. alba and A. officinalis) cannot be categorized as phytoremediation species of heavy metals in this mangrove area. Further study should be conducted with other mangrove species including metal speciation in the sediments.

Downloads