เชื้อแบคทีเรียที่สัมพันธ์กับอาการแถบขาวในปะการังสมองร่องยาววัยอ่อนจากระบบเลี้ยง
Keywords:
แบคทีเรีย, แบคทีเรียวิบริโอ, ปะการังสมองร่องยาว, โรคปะการัง, อาการแถบขาวในปะการังAbstract
การอนุบาลและเลี้ยงปะการังสมองร่องยาว (Platygyra daedalea) วัยอ่อนในโรงเรือน พบว่าบริเวณเนื้อเยื่อมีอาการแถบขาว White Band Syndrome (WBS) จึงจำแนกอาการแถบขาว ตามลักษณะการของหลุดลอกของเนื้อเยื่อ ได้เป็น 4 กลุ่ม คือโคโลนีที่ไม่แสดงอาการแถบขาว (0), แสดงอาการแถบขาวเล็กน้อย 10 - 20% (+1), ปานกลาง >20 -60% (+2) และรุนแรง > 60% (+3) เนื้อเยื่อปะการังถูกตรวจสอบการติดเชื้อแบคทีเรียรวม และแบคทีเรียวิบริโอรวม โดยพบปริมาณการสะสมของเชื้อแบคทีเรียวิบริโอรวมจากน้ำในถังเลี้ยงปะการังที่ไม่แสดงอาการ (0) มีค่าเฉลี่ย ± SE ที่5.49 ± 1.1, (+1), (+2) และ (+3) มีค่า 2.45 x 102 ± 1.48, 4.89 x 103 ± 1.2 และ 6.16 x 103 ± 1.26 CFU/ml. ตามลำดับ และปริมาณการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย รวมจากน้ำในถังเลี้ยงปะการังที่ไม่แสดงอาการ (0) มีค่าเฉลี่ย ± SE ที่2.63 x 102 ± 1.48, (+1), (+2) และ (+3) มีค่า 1.62 x 103 ±1.1, 6.91 x 103 ± 1.51 และ 8.13 x 104 ± 1.55 CFU/ml. ตามลำดับ สำหรับปริมาณแบคทีเรียวิบริโอรวมในเนื้อเยื่อปะการัง WBS พบการสะสมของปริมาณแบคทีเรียวิบริโอรวมมากกว่าแบคทีเรียรวมจากน้ำในถังเลี้ยงที่ไม่แสดงอาการ (0) มีค่าเฉลี่ย ± SE ที่ 6.46 x 104 ± 1.62, (+1), (+2) และ (+3) มีค่า 2.14 x 105 ± 1.12, 4.68 x 105 ± 1.38 และ 3.39 x 106 ± 1.09 CFU/ml. ตามลำดับ และปริมาณการสะสมของแบคทีเรียรวมในเนื้อเยื่อปะการังที่ไม่แสดงอาการ (0) มีค่าเฉลี่ย± SE ที่ 1.28 x 105 ± 3.31, (+1), (+2) และ (+3) มีค่า 5.62 x 105 ± 3.98, 1.02 x 106 ± 2.57 และ 6.03 x 106 ± 4.89 CFU/ml. ตามลำดับ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของระดับความรุนแรงของอาการแถบขาวกับปริมาณเชื้อแบคทีเรียรวม และแบคทีเรียวิบริโอรวมในเนื้อเยื่อปะการัง มีค่า r = 0.879 (n = 4)และ r = 0.892 (n = 4) ตามลำดับ เมื่อจำแนกชนิดเชื้อแบคทีเรียพบว่า ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Vibriospp. โดยเชื้อวิบริโอชนิดเด่นคือ V. parahaemolyticus รองลงมาเป็นชนิด V. alginolyticus จากผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าอาการแถบขาวในปะการังสมองร่องยาววัยอ่อนเกิดขึ้น อาจเกิดจากการสะสมปริมาณเชื้อแบคทีเรีย ของน้ำในถังเลี้ยง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ปะการังเกิดสภาวะเครียด ส่งผลให้เนื้อเยื่อปะการังติดเชื้อแบคทีเรีย จนปรากฏอาการแถบขาวและมีอาการรุนแรงมากขึ้นตามปริมาณเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งควรมีการทดลองเพื่อยืนยันสาเหตุของโรคจากเชื้อแบคทีเรียต่อไป โดยทั่วไปแนวทางการเลี้ยงปะการังสมองร่องยาววัยอ่อนในระบบเลี้ยง ควรรักษาระดับคุณภาพน้ำในถังเลี้ยงให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อลดปริมาณการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย Cultured immature corals (Platygyra daedalea) affected by White Band Syndrome (WBS), were classified based on white plague area on coral surface into four categories; (0), WBS absent; (+1), WBS present over 10 - 20% of coral surface; (+2), >20-60% and > 60%, (+3). Coral tissue was examined for bacterial infection by directed enumeration of total bacteria and total Vibrio spp. Density of total Vibrio spp. in culture tank water (means ± SE) amounted 5.49 ± 1.1 for category (0), 2.45 x 102 ± 1.48, (+1), 4.89 x 103 ± 1.2, (+2), and 6.16 x 103 ± 1.26, (+3), CFU/ml. Total bacteria in culture tank water was higher with than total Vibriospp. (means ± SE) at2.63 x 102 ± 1.48 for category (0), 1.62 x 103 ± 1.1, (+1), 6.91 x 103 ± 1.51, (+2), and 8.13 x 104 ± 1.55, (+3), CFU/ml. Furthermore, processed coral tissue scrapings from WBS had higher densities of total Vibrio spp. and total bacterial than water in those culture tanks with means ± SE for the former 6.46 x 104 ± 1.62 category (0), 2.14 x 10 5 ± 1.12, (+1), 4.68 x 105 ± 1.38, (+2), and 3.39 x 106 ± 1.09, (+3), CFU/ml., infections. Total bacteria of processed coral tissue scrapings had higher densities with means ± SE 1.28 x 105 ± 3.31 for category (0), 5.62 x 105 ± 3.98, (+1), 1.02 x 106 ± 2.57, (+2), and 6.03 x 106 ± 4.89, (+3), CFU/ml. infections. WBS of coral tissue was significantly correlated with total bacteria (n = 4, r = 0.879), and total Vibrio spp. (n = 4, r = 0.892), respectively. Thus, total bacteria and Vibrio spp. virulence was positively and significantly correlated with WBS. Dominant bacteria were V. parahaemolyticus and V. alginolyticus. Overall, results implied that bacteria accumulation in culture tank water may impose a stress to healthy coral and so, further study should be conducted to confirm bacterial etiology. Generally, basic principles of cleanliness should be applied routinely to all aspects of coral cultureDownloads
Issue
Section
Articles