กายวิภาคศาสตร์แผ่นใบของเฟิร์นบริเวณน้ำตกถ้ำจงอาง สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

Authors

  • อนิษฐาน ศรีนวล
  • วิโรจน์ เกษรบัว

Keywords:

กายวิภาคศาสตร์ใบเฟิร์น, สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช, leaf anatomy, fern

Abstract

          ศึกษากายวิภาคศาสตร์แผ่นใบของเฟิร์นบริเวณน้ำตกถ้ำจงอาง สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 จำนวน 18 ชนิด จำแนกเป็น 14 สกุล 8 วงศ์ เพื่อนำลักษณะกายวิภาคศาสตร์ที่ได้ไปใช้ในการระบุพืชที่ศึกษา โดยการเตรียมสไลด์ถาวรพืชด้วยวิธีการลอกผิวใบ หรือการทำให้แผ่นใบใส และตัดตามขวางแผ่นใบด้วยกรรมวิธีพาราฟิน ศึกษาลักษณะกายวิภาคศาสตร์ด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง พบลักษณะทั่วไปของพืชที่ศึกษาดังนี้ 1) เซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิวจากการลอกผิว มีรูปร่างคล้ายจิกซอว์หรือรูปร่างหลายเหลี่ยม ผนังเซลล์ด้านตั้งฉากกับผิวใบเรียบ เรียบและโค้งเล็กน้อย ค่อนข้างขรุขระ หรือโค้งเว้า 2) เนื้อเยื่อชั้นผิวในภาคตัดขวาง มี 1-2 ชั้น เซลล์มีรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปร่างไม่แน่นอน หรือรูปร่างกลม 3) ปากใบอยู่ในระดับเดียวกันกับเนื้อเยื่อชั้นผิว ส่วนใหญ่พบบริเวณเนื้อเยื่อชั้นผิวด้านล่าง มีค่าดัชนีของปากใบ 9.45-28.57 รูปแบบของปากใบเป็นแบบพาราไซติก เพอริไซติก ไดอะไซติก แอนไอโซไซติก และแอนอโมไซติก 4) ขนเป็นแบบขนเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ 5) บางชนิดมีโพรงอากาศในชั้นมีโซฟิลล์ 6) ชั้นมีโซฟิลล์ของพืชส่วนใหญ่ประกอบด้วยเซลล์แพลิเซดและสปองจีที่มีรูปร่างคล้ายกัน เซลล์มีรูปร่างไม่แน่นอนหรือ กลม มีจำนวนมากกว่า 1 ชั้นเซลล์ 7) รูปร่างของเส้นกลางใบโค้งทั้งด้านบนและด้านล่าง ตรงทั้งสองด้าน ด้านบนตรงส่วน ด้านล่างโค้ง ด้านบนเว้าเป็นรูปตัววีด้านล่างโค้ง และด้านบนรูปหัวใจด้านล่างโค้ง 8) มัดท่อลำเลียงที่เส้นกลางใบเป็นแบบโฟลเอ็มล้อมรอบไซเล็ม (amphicribal bundle) มีรูปร่างกลม รูปสามเหลี่ยม รูปรี และรูปกากบาท มีจำนวน 1-3 มัด และ 9) มีสารสะสมเป็นแทนนินหรือเป็นเม็ดติดสีย้อมสีแดง ลักษณะดังกล่าวสามารถนำไปใช้สร้างรูปวิธานสำหรับการระบุชนิดของพืชที่ศึกษาได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีลักษณะร่วมของวงศ์จึงไม่สามารถนำไปใช้ในการสนับสนุนการจัดจำแนกได้           Leaf blade anatomical study of ferns at Tham Jong Ang Waterfall in Sakaerat Environmental Research Station, Wang Nam Khieo District, Nakhon Ratchasima Province were conducted from May 2015 to April 2016. Eighteen species including fourteen genera and eight families were studied. The purpose of this research was to determine the vegetative anatomy for the identification of ferns. The specimens were investigated by leaf epidermal peeling or clearing and transverse sectioning of lamina and examination by light microscope. The generalized anatomical characteristics in all species studied are as follow: 1) epidermal cells are jigsaw-like or polygonal, anticlinal walls are straight, straight and slightly curve, rough and concave; 2) shapes of epidermal cell in transverse section are quadrangular or irregular, with 1-2 layers; 3) stomata are typical type, usually presence in the abaxial, stomatal index are 9.45-28.57 and the patterns of stoma are paracytic, pericytic, diacytic, anisocytic and anomocytic stomata; 4) trichomes are unicellular or multicellular trichomes; 5) some species are presence air space in the mesophyll; 6) mesophyll of most species studied consist of similarly palisade and spongy cells which presence more than one layer of irregular or globose in shapes; 7) shapes of main veins are curve on both sides, straight on both sides, straight on the upper and curve on the lower, v-shaped on the upper and curve on the lower and heart-shaped on the upper and curve on the lower; 8) vascular bundles in main veins are amphicribal bundle which phloem surrounding by xylem. Vascular bundle shapes are circular, triangular, oval and x-shaped with 1-3 vascular bundles; and 9) inclusions are red staining body and tannin. Using these characteristics an anatomical key was constructed to assist identification of the species. However, these anatomical characteristics are not shared between species in the family which cannot be used to support the classification.

Downloads