จลนพลศาสตร์การอบแห้งมะม่วงเบาด้วยวิธีอบแห้งแบบสุญญากาศ

Authors

  • วรรณพิชญ์ จุลกัลป์

Keywords:

จลนพลศาสตร์การอบแห้ง, ลมร้อน, มะม่วง, โครงสร้าง, อบแห้งสุญญากาศ

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะในการอบแห้งที่มีผลต่อจลนพลศาสตร์การอบแห้ง และคุณภาพทางกายภาพของมะม่วงเบาอบแห้งแบบสุญญากาศ การทดลองอบแห้งที่อุณหภูมิ 60 70 และ 80 °C ที่ความดัน 30 mmHg โดยใช้มะม่วงเบารูปร่างที่แตกต่างกัน (ส่วนขอบด้านหน้าของผล (ส่วนที่ 1 และ 3) ส่วนกลางของผล (ส่วนที่ 2 และ 4) และส่วนขอบด้านข้างของผล (ส่วนที่ 5 และ 6)) อบแห้งด้วยวิธีการอบแห้งแบบสุญญากาศ (VD) เปรียบเทียบกับวิธีการอบแห้งด้วยการพาความร้อนจากลมร้อน (CD) ผลการทดลองพบว่าการอบแห้งด้วยวิธี VD ที่อุณหภูมิสูงจะใช้ระยะเวลาการอบแห้งสั้นกว่า และค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้นสูง มะม่วงอบแห้งหดตัวต่ำ ค่าความเป็นสีเหลืองสูง ความแข็งน้อย และสัณฐานโครงสร้างที่มี ลักษณะโปร่ง มีรูพรุนจำนวนมากเมื่อเปรียบเทียบกับการอบแห้งวิธี CD ที่อุณหภูมิต่ำ ดังนั้นการอบแห้งด้วยวิธี VD ที่ 80 °C ถูกพิจารณาเป็นสภาวะที่ดีที่สุดในการอบแห้ง การอบแห้งมะม่วงส่วน 2,4 1,3 และ 5,6 ใช้ระยะเวลาในการอบแห้ง 300 300 และ 240 นาทีตามลำดับ แบบจำลองที่เหมาะสมเพื่อทำนายจลนพลศาสตร์การอบแห้งสุญญากาศมะม่วงที่อุณหภูมิ 60 °C ของมะม่วงส่วน 2,4 5,6 และ 1,3 คือ สมการ diffusion approach Page และ diffusion approach ตามลำดับที่อุณหภูมิ 70 °C คือ diffusion approach diffusion approach และ Page ตามลำดับ และสมการ Page สำหรับอุณหภูมิการอบแห้ง 80 °C ของทุกส่วนของมะม่วง           The purpose of this research was to study the effect of drying conditions on drying kinetics and physical qualities of vacuum-dried Bao Mango. Drying experiments were carried out at the different drying temperatures (60 °C, 70 °C, and 80 °C at 30 mmHg) by using different shapes of fruit with vacuum drying (VD) (front of near skin (part 1,3), middle (part 2,4) and side of near skin (part 5,6)) compared with conventional convective drying method (CD). The experimental results showed that the VD method at high temperature for all three shapes of fruits showed the fastest drying time, the higher values of the effective moisture diffusivity, lower shrinkage, higher yellowness, lower hardness and higher number of pores, when compared with CD method at low-temperature drying. Consequently, the VD at drying air temperature of 80 °C was suggested as the best drying condition. At this conditions, the drying time of part 2,4 5,6 and 1,3 were 300, 300 and 240 min, respectively. The suitable thin layer model for VD of mango slide with different part of 2,4 5,6 and 1,3 at 60 °C were diffusion approach, Page and diffusion approach and at 70 °C were diffusion approach, diffusion approach and Page, respectively. And the Page of the model showed an excellent fit with the experiment of all shapes of vacuum-dried mango for the drying temperature of 80 °C.

Downloads