โครงสร้างพันธุศาสตร์ประชากรของสัตว์ทะเลในอ่าวไทย

Authors

  • ทรรศิน ปณิธานะรักษ์

Keywords:

โครงสร้างพันธุศาสตร์ประชากร, ประชากร, พันธุศาสตร์ประชากร, ความแตกต่างทางพันธุกรรม, อ่าวไทย

Abstract

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวิเคราะห์การแบ่งออกเป็นประชากรย่อย และความแตกต่างทางพันธุกรรม ของประชากรสัตว์ทะเลภายในอ่าวไทย จากการรวบรวมรายงานการศึกษาโครงสร้างพันธุศาสตร์ประชากรของสัตว์ทะเล ในอ่าวไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบันพบโครงสร้างพันธุศาสตร์ประชากรและความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างประชากรอ่าวไทยตอนบนและตอนล่างในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเลหลายชนิด เช่น หอยลาย หอยเสียบ กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย และปูม้า ยกเว้นในสัตว์กลุ่มหอยบางชนิด เช่น หอยแมลงภู่ หอยตะโกรม และหอยเชลล์ สำหรับสัตว์มีกระดูกสันหลังในทะเลกลุ่มปลา พบว่าประชากรปลากะพงขาว ปลาช่อนทะเล และม้าน้ำดำในอ่าวไทยมีความคล้ายคลึงกันทางพันธุกรรม ยกเว้นในประชากรปลาทู ปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างทางพันธุกรรมในประชากรสัตว์ทะเลบางชนิด ภายในอ่าวไทย ได้แก่ การไหลเวียนของกระแสน้ำ ระยะห่างระหว่างประชากร และความแตกต่างของปัจจัยทางกายภาพ และปัจจัยทางชีวภาพ           The main purpose of this study is to define subdivided populations and genetic differentiation among marine populations within the Gulf of Thailand. Reviews on population genetic structure in marine species within the Gulf of Thailand from 2003 up to now showed population genetic structure and genetic differentiation between the upper and lower Gulf of Thailand invertebrate populations such as surf clams, bean clams, giant tiger shrimps, Penaeid prawns and blue swimming crabs. These differentiations excluded a few mollusk species such as green mussels, oysters and Asian moon scallops. For vertebrate species e.g. fish, populations of Asian seabass, cobia and spotted seahorses showed no genetic differentiation except for the populations of short mackerels. Factors affecting genetic differentiation in some marine species within the Gulf of Thailand were the circulation in the Gulf of Thailand, distance between populations, and difference in some physical and biological factors.

Downloads