ความหลากชนิดและองค์ประกอบชนิดของสังคมมดบริเวณพื้นดินในพื้นที่เกษตรกรรมเขตร้อน : กรณีศึกษาจังหวัดระยอง ภาคตะวันออกของประเทศไทย

Authors

  • กิตติศักดิ์ ปราบพาล
  • สาลินี ขจรพิสิฐศักดิ์

Keywords:

มด, ความหลากหลาย, สวนทุเรียน, สวนมังคุด, สวนยางพารา, ant, diversity, durian orchard, mangosteen orchard, rubber plantation

Abstract

          งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความหลากชนิดและองค์ประกอบชนิดของสังคมมด ที่หากินตามพื้นดินในพื้นที่เกษตรกรรมเขตร้อน (สวนทุเรียน สวนมังคุด และสวนยางพารา) ในจังหวัดระยอง ภาคตะวันออกของประเทศไทย ระหว่าง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2559 โดยวิธีกับดักหลุม ผลการศึกษาพบมดทั้งหมด 36,309 ตัว (สวนทุเรียน จำนวน 27,263 ตัว สวนมังคุด 5,409 ตัว และสวนยางพารา 3,637 ตัว) สามารถจัดจำแนกออกเป็น 36 ชนิด จาก 29 สกุล 7 วงศ์ย่อย โดยสวนมังคุดพบจำนวนชนิดมากที่สุด (29 ชนิด 28 สกุล 6 วงศ์ย่อย) รองลงมาได้แก่ สวนทุเรียน (21 ชนิด 20 สกุล 5 วงศ์ย่อย) และสวนยางพาราพบ (17ชนิด 16 สกุล 6 วงศ์ย่อย) ตามลำดับ จากการศึกษาดัชนีโครงสร้างทางชีวภาพของ สังคมมด พบว่า ค่าเฉลี่ยของดัชนีความหลากหลายของ Shannon (H') ดัชนีความหลากหลายของ Simpson (D') และ ดัชนีความสม่ำเสมอ (E') ของมดมีค่าสูงที่สุดในสวนมังคุด รองลงมาคือ สวนยางพาราและสวนทุเรียน ตามลำดับ เมื่อพิจารณาถึงชนิดพันธุ์เด่นในแต่ละพื้นที่ศึกษา พบว่า มดง่าม Carebara affinis (Jerdon, 1851) มดน้ำผึ้ง (Anoplolepis gracilipes (Smith, 1857) และมดคัน (Pheidolesp.) เป็นชนิดพันธุ์เด่นที่พบในสวนทุเรียน สวนมังคุด และสวนยางพารา ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ความคล้ายคลึงของชนิดมดมีค่าสูงสุดในระหว่างพื้นที่สวนทุเรียนและสวนมังคุด คิดเป็น ร้อยละ 64ขณะที่ค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนของชนิดมดมีค่าต่ำสุด ในระหว่างสวนมังคุด และสวนยางพารา คิดเป็นร้อยละ 61 ผลการศึกษาทั้งหมดในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าความหลากชนิด ความชุกชุม และองค์ประกอบชนิดของสังคมมดมีความแปรผันไปตามรูปแบบของการทำเกษตรกรรม           The objectivesof this research work wereto evaluate the species diversityand to investigate composition of ground-foraging ant communities in tropical agricultural areas which include durian orchard (DO), mangosteen orchard (MO), and rubber plantation (RP) in Rayong Province, eastern Thailand, throughout October 2015 to September 2016. A total of 36,309 ants (27,263in the DO, 5,409 in the MO, and 3,637 in the RP) collected using pitfall traps belongs to 36 species, 29 genera and 7 subfamilies. The highest number of species was found in the MO (29 species, 28 genera and 6 subfamilies), followed by the DO (21species, 20 genera and 5 subfamilies), and the RP (17 species, 16 genera and 6 subfamilies), respectively. According to measures of species diversity, the results show that with respect to the average values of the Shannon Diversity Index (H'), the Simpson’s Index of Diversity (D') and the Evenness index (E'), all measurements of the mangosteen orchard are the highest followed by the rubber plantation and the durian orchard, respectively. The most abundant ant species in each location was Carebara affinis (Jerdon, 1851) (in the DO), Anoplolepis gracilipes (Smith, 1857) (in the MO), and Pheidole sp. (in the RP). Inaddition, the Sorensen’s similarity coefficient was highest at 64% between the durian and mangosteen orchards whereas the lowest at 61% between the mangosteen orchard and the rubber plantation. All resulted presented here highlighted that the species diversity, abundance, and species composition of ground-foragingant communities were varied among three different agricultural systems.

Downloads