การผลิตโพลีโคลนอลแอนติบอดีที่จำเพาะต่ออิมมูโนโกลบูลินของปลานิล

Authors

  • ธนพนธ์ สุนทรสีมะ
  • ประดิษฐ์ หวังมาน
  • ไพศาล สิทธิกรกุล
  • ศิวาพร ลงยันต์

Keywords:

แอนติซีรัม, ปลานิล, อิมมูโนโกลบูลิน, ดับเบิลอิมมูโนดิฟฟิวชั่น Western blotting

Abstract

          งานวิจัยนี้เป็นการผลิตแอนติซีรัมจากหนูขาวที่จำเพาะต่ออิมมูโนโกลบูลิน (Ig) ของปลานิล (Oreochromis niloticus) โดยทำการฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันของปลานิลด้วยโปรตีน bovine serum albumin (BSA) ซีรัมของปลานิลที่ได้สามารถตกตะกอน BSA โดยนำซีรัมของปลานิลไปผสมกับโปรตีน BSA ได้ตะกอนของ Ig/BSA complex และนำไปปลูกภูมิคุ้มกันในหนูขาวสามารถผลิตแอนติซีรัม ที่มีความจำเพาะและมีแรงจับสูงกับ Ig ของปลานิลทั้งบริเวณของโปรตีนสายยาว (heavy chain) ขนาดประมาณ 78 กิโลดาลตันและ โปรตีนสายสั้น (light chain) ขนาดประมาณ 23 กิโลดาลตัน เมื่อทดสอบด้วยวิธี Western blotting แต่อย่างไรก็ตามแอนซีรัมที่ได้ยังมีแอนติบอดีที่สามารถจับกับโปรตีน BSA ขนาดประมาณ 60 กิโลดาลตันและองค์ประกอบอื่น ๆ ของซีรัมปลานิลปะปนอยู่ด้วย จึงจำเป็นต้องผลิตแอนติบอดีต่อ Ig ในรูปของโมโนโคลนอลแอนติบอดี เพื่อให้ได้แอนติบอดีที่มีความจำเพาะสูงในปริมาณที่ไม่จำกัดสำหรับในการวิจัยต่อไป           Mouse antiserum against immunoglobulin (Ig) of tilapia (Oreochromis niloticus) was produced by using tilapia Ig/BSA complex. Tilapia anti-bovine serum albumin was produced first by peritoneal injection of bovine serum albumin (BSA) and then used for preparation of tilapia Ig/BSA complex by immunoprecipitation. The complex was then used for immunization into mice for production of mouse anti-tilapia Ig antiserum. The mouse anti-tilapia Ig antiserum demonstrated high affinity on both heavy chain (78 kDa) and light chain (23 kDa) as determined by Western blotting, however, the mouse antiserum still contained antibodies that slightly recognized BSA (60 kDa) and other components in tilapia serum as well. Therefore, further development of monoclonal antibody should be performed to obtain high specific antibody without limited quantity.

Downloads