การศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์เพิ่มการผลิตไนตริกออกไซด์ของแตงโมบางสายพันธ์ุที่ปลูกในประเทศไทย

Authors

  • สุพัตรา ทองทา
  • เพชรรัตน์ ไสว
  • กล่าวขวัญ ศรีสุข

Keywords:

แตงโม, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ฤทธิ์เพิ่มการผลติไนตริกออกไซด์, เซลล์เยื่อบุหลอดเลือด

Abstract

          แตงโมเป็นผลไม้ที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย และเป็นที่ทราบกันว่าส่วนต่างๆ และสายพันธุ์ของแตงโมมีผลต่อฤทธิ์ทางขีวภาพ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์เพิ่มการผลิตไนตริกออกไซด์จากส่วนต่างๆ ของแตงโม (เปลือกเขียว เปลือกขาว เนื้อ และเมล็ด) ที่ปลูกในประเทศไทยจำนวน 5 สายพันธุ์ (กินรี ตอร์ปิโด ญาญ่า รันรัน และคิงออเร้นจ์) ทำการตรวจสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ โดยวิธีการกำจัดอนุมูล DPPH และประเมินการเพิ่มการผลิตไนตริกออกไซด์ในเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดมนุษย์ พบว่าส่วนสกัดจากแตงโมทุกสายพันธ์ุ มีฤทธิ์ในการกำจัดอนุมูล DPPH และฤทธิ์เหนี่ยวนำการผลิตไนตริกออกไซด์ ส่วนเปลือกเขียวของสายพันธุ์ตอร์ปิโดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์เพิ่มการผลิตไนตริกออกไซด์สูงที่สุด นอกจากนี้ผลการทดลองยังแสดงให้เห็นว่าสายพันธุ์และส่วนต่างๆ ของแตงโมมีผลต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และการเพิ่มการผลิตไนตริกออกไซด์ผลการทดลองที่ได้อาจนำมาเป็นข้อมูลส่งเสริมการบริโภคแตงโม รวมทั้งใช้ในการพัฒนาส่วนต่างๆ ของแตงโมสายพันธุ์เหล่านี้เป็นอาหารเสริมสุขภาพ           Watermelon (Citrullus lanatus) is a widely consumed fruit. It is known that the cultivar and parts of fruit affect biological activities of watermelon. Thus, the aim of this study was to comparatively study on antioxidant and nitric oxide-inducing activities of different parts (outer skin, epicarp, mesocarp and seeds) of five watermelon cultivars grown in Thailand (Kinnaree, Torpedo, Yaya, Runrun and King orange). The antioxidant activity was measured by DPPH radical scavenging activity assay. The inducing effect on nitric oxide (NO) production was determined in human vein endothelial cells (EA.hy 926). It was found that the extract of all cultivars exhibited DPPH radical scavenging activity and induced NO production. The outer skin of Torpedo cultivar showed the highest antioxidant and NO-inducing activities. Furthermore, the results demonstrate that the cultivars and fruit sampling area influence on antioxidant and NO-inducing activity of watermelon. The obtained data is probably used for promotion on consumption of watermelon and in the development of food supplements from these watermelon cultivars.

Downloads