การคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียจากผิวใบมะเขือเทศในการควบคุมเชื้อรา Stemphylium sp. สาเหตุโรคใบจุดสีเทา

Authors

  • วราภรณ์ สุทธิสา
  • ปพิชญา นามแสง

Keywords:

เชื้อรา, Stemphylium sp., ผิวใบ, โรคใบจุดสีเทา

Abstract

         วัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้เพื่อคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อรา Stemphylium sp. สาเหตุโรคใบจุดสีเทาของมะเขือเทศ โดยคัดแยกเชื้อแบคทีเรียจากผิวใบมะเขือเทศ สามารถแยกเชื้อ แบคทีเรียได้ 46 ไอโซเลต จากวิธีการล้างใบ 40 ไอโซเลต และวิธีการ leaf printing 6 ไอโซเลต เมื่อนำไปทดสอบความสามารถในการยับยั้งเชื้อรา Stemphylium sp. บนอาหาร potato dextrose agar (PDA) ด้วยวิธี dual culture สามารถคัดเลือกแบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยของเชื้อรา Stemphylium sp. ได้ 6 ไอโซเลต โดย % การยับยั้งระหว่าง 47.43 - 58.36 % เมื่อทำการทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมโรคใบจุดสีเทาด้วยวิธีการ detached leaf พบว่าแบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเกิดแผลดีที่สุด คือ ไอโซเลต PDN15 สามารถลดขนาดแผลได้ 78.50 % เมื่อเทียบกับกรรมวิธีที่ไม่มีการใช้แบคทีเรีย การจำแนกชนิดด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยาและคุณสมบัติทางชีวเคมีพบว่า PDN15 คือ Bacillus sp.           This research aims to screening phylloplane bacteria from tomato leaves to control Stemphylium sp., a causal agent of gray leaf spot disease. Forty six isolates were obtained including 40isolates via leaf washing and 6isolates via leaf printing technique. All of isolates were tested in vitro for growth inhibitory effect against Stemphylium sp. on potato dextrose agar (PDA) using dual culture technique. Among these phylloplane bacteria, 6 isolates demonstrated inhibitory effect against the growth of Stemphylium sp. with % inhibition in range of 47.43-58.36%. Then, the six potent bacteria were tested for the efficacy to control gray leaf spot disease by detached leaf technique. The result showed that PDN15 was the most effective to reduce the lesion sizes by 78.50% as compared to non-bacteria treated. Base on morphological and biochemical testing, PDN15 was identified as Bacillus sp.

Downloads