ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียและต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดใบตีนเป็ดน้ำและใบตีนเป็ดทราย
Keywords:
ใบตีนเป็ดทราย, ใบตีนเป็ดน้ำ, ต้านแบคทีเรีย, ต้านอนุมูลอิสระAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคในพืชและสัตว์และต้านอนุมูลอิสระของสาร สกัดจากใบตีนเป็ดทรายและตีนเป็ดน้ำ จากการทดสอบพบว่า Xanthomonas campestris pv. vesicatoria เป็นแบคทีเรียที่ถูกยับยั้งการเจริญด้วยส่วนสกัดเอทิลอะซิเตต (EA) ได้มากที่สุด โดย EA จากใบตีนเป็ดน้ำ(65.27%) มีฤทธิ์ที่ดีกว่าใบตีนเป็ดทราย (48.23%) อีกทั้ง EA ยังมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด โดยสามารถกำจัดอนุมูล DPPH ได้ดีที่สุด (EC50 = 0.55±0.03 mg/mL) และรีดิวซ์ Fe3+ ได้ดีที่สุด (2.08±0.42 มิลลิกรัมวิตามินซีสมมูลต่อกรัมของส่วนสกัด) แต่มีความสามารถในการจับกับไอออน Fe2+ ได้น้อยกว่าส่วนสกัดเฮกเซน นอกจากนี้ยังพบว่าฤทธิ์ทางชีวภาพทั้งสองจะแปรผันตรงกับปริมาณสารประกอบฟีนอลิกหรือฟลาโวนอยด์รวม ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของสารประกอบทั้งสองในการเป็นกลุ่มสารออกฤทธิ์ผลการทดลองทงั้หมดแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของสารสกัดจากใบตีนเป็ดน้ำในการพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และเกษตรกรรมต่อไป Aim of this research is to evaluate antibacterial activity of C. manghas and C. odollam leaf extracts against plant and animal pathogens, and also antioxidant activities. Using turbidimetric assay, X. campestris pv. vesicatoria. growth showed the highest reduction by ethyl acetate extract (EA) of C. odollam (65.27%) than that of C. manghas (48.23%). EA also exhibited the highest antioxidant activity by scavenging DPPH radical with the EC50 of 0.55±0.03 mg/mL and had the strongest reducing ability (2.08±0.42 mg ascorbic acid equivalent/g extract). However, hexane extract (Hex) was found to be the best Fe2+ chelator. Moreover, bioactivity assays revealed positive correlation with total phenolic and flavonoid contents of the extracts, indicating that both compounds take into account for these activities. Our findings suggest that C. odollam leaf extracts are useful for future development for medical and agricultural purposes.Downloads
Issue
Section
Articles