ผลของน้ำหมักชีวภาพจากเศษปลาและผักที่มีต่อการเจริญเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยาของผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊กที่ปลูกในระบบไฮโดรโปรนิกส์

Authors

  • สุภาพร ราชา
  • ศิรศาธิญากร จันทร์ขศิราพร

Keywords:

น้ำหมักชีวภาพ, การปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์, ผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊ค, การปลูกพืช

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ ศึกษาผลของน้ำหมักชีวภาพจากเศษปลา เศษผัก และสูตรผสมที่เติมร่วมกับสารละลายธาตุ อาหารที่มีต่อการเจริญเติบโต และลักษณะทางสรีรวิทยาของผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊คที่ปลูกอยู่ในระบบไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้อัตราส่วนของน้ำหมักชีวภาพต่อปริมาตรของสารละลายธาตุอาหารแบบครึ่งสูตร (half strength) คือ 1: 500 และ 1: 1000 ศึกษาการเจริญเติบโต ได้แก่ ความสูง พื้นที่ใบ น้ำหนักแห้งรวม รวมถึงการตอบสนองทางด้านสรีรวิทยา ได้แก่ ปริมาณคลอโรฟิลล์ แคโรทีนอยด์ เบต้าแคโรทีน และปริมาณกรดแอสคอร์บิกในใบ บันทึกผลการทดลองทุกๆ 7 วัน เป็นระยะเวลา 42 วัน พบว่าผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊คที่ได้รับน้ำหมักชีวภาพสูตรผสมในอัตราส่วน 1: 1000 มีผลทำให้การเจริญเติบโตคือความสูง พื้นที่ใบ น้ำหนักแห้งรวม และลักษณะทางสรีรวิทยาคือปริมาณคลอโรฟิลล์รวมในใบ ปริมาณแคโรทีนอยด์ ปริมาณเบต้าแคโรทีน และปริมาณกรดแอสคอร์บิกในใบมีค่ามากที่สุดและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติกับผักกาดหอมกรีนโอ๊คที่ได้รับสารละลายธาตุอาหารสูตรปกติ (full strength) จากผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าน้ำหมัก ชีวภาพสูตรผสมที่เติมร่วมกับสารละลายธาตุอาหาร half strength ในอัตราส่วน 1:1000 มีผลไปส่งเสริมการเจริญเติบโต ปริมาณสารสีและปริมาณกรดแอสคอร์บิกของผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊คให้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการทดลองในครั้งนี้ สามารถไปแนะนำและส่งเสริมให้เกษตรผู้ปลูกผักลดการใช้สารเคมี และลดต้นทุนในการปลูกพืชในระบบไฮโดรโปนิกส์ได้ อีกแนวทางหนึ่ง           This research was designed to compare the effects of bio-extract from fish and vegetable residues, and the mixture bio-extract from fish and vegetable residues on growth and physiological characteristics in green oak (Lactuca sativavar. crispaL.) that grown in hydroponics culture. In this experiment, the ratio of the bio-extract per nutrient solution was investigated (half strength) from 2 different levels, i.e. 1:500 and 1:1000. The growth responses were monitored by measuring height-above-ground, total leaf area and total dry weight. The physiology responses were monitored by measuring total chlorophyll, carotenoids, beta-carotene and ascorbic acid content. The results were collected in every 7 day for 42 days after bio-extract treatment. Results of this study revealed that green oak grown in the mixture of bio-extract from fish and vegetable at the ratio of 1:1000 had the tendency of producing height, total leaf area and total dry weight. Moreover, the mixture of bio-extract from fish and vegetable at the ratio of 1:1000 had the tendency of producing total chlorophyll, carotenoids, beta-carotene and ascorbic acid content and there was difference when compared with the green oak that grown in positive control (full strength). Based on the results, it was found that mixed bioactive compost with a 1: 1000 ratio of half strength could promote growth, total chlorophyll and ascorbic acid content of green oak. The information obtained from this experiment can be introduced and promote farmers to reduce chemicals and the cost of growing hydroponics as well.

Downloads