ลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ ITS1 ของยางพารา (Hevea brasiliensis Muell. Arg.) มีความแปรปรวนน้อย

Authors

  • น้ำอ้อย ใจแสน
  • ชูตา บุญภักดี

Keywords:

เครื่องหมายดีเอ็นเอ, ยางพารา, ลำดับนิวคลีโอไทด์, DNA marker, rubber tree

Abstract

          ยางพารา (Hevea brasiliensis Muell. Arg.) เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ประเทศไทยส่งเป็นสินค้าออกอันดับหนึ่งของโลก ปัจจุบันการระบุสายพันธุ์ของยางพาราทำได้โดยอาศัยลักษณะสัณฐานวิทยาซึ่งจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบ งานวิจัยนี้ศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ Internal Transcribed Spacer 1 (ITS1) ของยางพาราจำนวน 10 สายพันธุ์ ด้วยเทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส (Polymerase chain reaction; PCR)และอ่านลำดับเบส เพื่อพัฒนาใช้เป็นเครื่องหมายดีเอ็นเอในระดับสายพันธุ์ พบว่า ผลผลิตพีซีอาร์ของยางพาราทุกสายพันธุ์มีขนาด 503 คู่เบส บริเวณ ITS1 มีขนาดเท่ากับ 226 คู่เบส มีลำดับเบสต่างกัน 2 ตำแหน่ง 0.88เปอร์เซ็นต์ (2/226) แสดงว่าบริเวณ ITS1 ระหว่างสายพันธุ์ของยางพารามีความแปรปรวนต่ำ ดังนั้นบริเวณ ITS1 ไม่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องหมายดีเอ็นเอในการระบุสายพันธุ์ยางพาราได้           Para rubber tree (Hevea brasiliensis Muell. Arg.) is an important economic crop of Thailand which currently is the world’s top exporter. However, the conventional morphological characterization of the para rubber tree requires specialists. This study aims to use molecular genetic analysis of the Internal Transcribed Spacer 1 (ITS1) region of ten para rubber cultivars by using Polymerase chain reaction (PCR) technique and sequencing as a cultivar DNA marker. The PCR products of all cultivars were 503 base pairs in length and size of the ITS1 region is 226 base pairs, with 0.88% difference (2/226) indicating low variation between cultivars. Therefore, the ITS1 region is not a suitable DNA marker for the para rubber tree identification at the cultivar level.

Downloads