ความสัมพันธ์ระหว่างออกซิเจนละลายน้ำกับความเข้มข้นคลอโรฟิลล์-เอ บริเวณปากแม่น้ำบางปะกง

Authors

  • ภัทราวุธ ไทยพิชิตบูรพา

Keywords:

คลอโรฟิลล์, คุณภาพน้ำ, แม่น้ำบางปะกง

Abstract

          ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคลอโรฟิลล์-เอ และปริมาณออกซิเจนละลายน้ำบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง ระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤศจิกายน 2559 โดยแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูแล้ง ฤดูฝน และปลายฤดูฝน ทำการเก็บตัวอย่าง 11 สถานี โดยใช้เครื่องตรวจวัดคุณภาพน้ำหลายตัวแปรตามความลึกน้ำ (Multiparameter water quality profiler รุ่น AAQRINKO) ที่สามารถเก็บข้อมูลคุณภาพน้ำตามระดับความลึก ผลจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยคุณภาพน้ำมีความแตกต่างตามฤดูกาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.01 (one-way anova) โดย ออกซิเจนละลายน้ำและคลอโรฟิลล์-เอ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อย่างไรก็ตามพบว่าบริเวณพื้นท้องน้ำในบางฤดูมีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณภาพน้ำพบว่า ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับปริมาณคลอโรฟิลล์-เอ (Pearson correlation coefficient, R = 0.68; p > 0.05) และมีแนวโน้มลดลงตามระดับความลึก           The study of relationship between dissolved oxygen (DO) and chlorophyll a concentration of Bang Pa Kong Estuary were conducted between April and November 2016, including dry season, rainy season and late rainy season. Water samplings were collected from 11 stations (BK1-BK11) using the multiparameter water quality profiler (AAQ-RINKO). Depth profiles of water quality factors were recorded. Result showed that seasonal variation significantly (p < 0. 01) influenced water quality factors. The important parameters, i.e., dissolved oxygen concentration and chlorophyll a (Chl-a) concentration were acceptable according to the Marine Water Quality Standard (MWQ) for Aquaculture zone (Type 4). However, oxygen levels detected at the bottom zone in some seasons did not meet MWQ standard. This study also indicated a positive correlation between DO and Chl-a concentration (Pearson correlation coefficient, R = 0.68; p > 0.05) that decreases with depth.

Downloads