การผลิตเอทานอลจากขี้เลื่อยไม้ยางพาราเหลือทิ้ง โดยเชื้อยีสต์ที่ทนอุณหภูมิสูง Scheffersomyces shehatae TTC79

Authors

  • กมลชนก ธรรมโม
  • อานนท์ ธรรมสิทธิรงค์
  • สุทธิชา ณ ระนอง ธรรมสิทธิรงค์

Keywords:

เอทานอล, ขี้เลื่อยไม้ยางพารา, เชื้อยีสต์ทนร้อน, การหมัก, กระบวนการย่อย, กระบวนการหมัก

Abstract

          วัสดุลิกโนเซลลูโลสเป็นวัสดุที่มีปริมาณมาก ราคาถูก และสร้างทดแทนใหม่ได้สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้น สำหรับผลิตเอทานอลได้ในงานวิจัยนี้ได้นำขี้เลื่อยไม้ยางพาราซึ่งเป็นวัสดุลิกโนเซลลูโลสเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมทำเฟอร์นิเจอร์มาศึกษาเพื่อใช้เป็นแหล่งของน้ำตาลสำหรับการผลิตเอทานอล จากผลของการย่อย ขี้เลื่อยไม้ยางพาราที่ผ่านการปรับสภาพด้วยเบสโดยเอนไซม์พบว่าให้น้ำตาลสูงและมีสารพิษน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการย่อยขี้เลื่อยที่ผ่านการปรับสภาพด้วยกรด และการศึกษาการผลิตเอทานอลโดยการหมักแบบที่มีกระบวนการย่อยและกระบวนการหมักในขั้นตอนเดียวจากขี้เลื่อยที่ผ่านการปรับสภาพด้วยเบสโดยเชื้อยีสต์ทนอุณหภูมิสูง Scheffersomyces shehataeTTC79 ได้ผลการทดลองดังนี้ ความเข้มข้นเอทานอล, ผลผลิตเอทานอล, อัตราการผลิตเอทานอล และผลผลิตเอทานอลทางทฤษฎีสูงสุดเท่ากับ 2.14 กรัมต่อลิตร, 0.33 กรัมต่อกรัม, 0.18 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง และ 65.13 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ           Lignocellulosic materials are the most abundant, cheap and renewable feedstocks for ethanol production. In this study, rubber sawdust, a lignocellulosic waste of furniture manufacturers was investigated as a source of fermentable sugars for ethanol production. Enzyme hydrolysis of alkaline pretreated sawdust showed high sugar content and low amount of toxic compounds compared with the acid pretreated sawdust. Simultaneous saccharification and fermentation (SSF) studies were carried out to produce ethanol from alkaline pretreated sawdust waste using thermotolerant yeast, Scheffersomyces shehatae TTC79. The maximum ethanol concentration, ethanol yield, productivity and theoretical yield were 2.14 g/l, 0.33 g/g, 0.18 g/l/h and 65.13%, respectively.

Downloads