ลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ non-coding ของไมโทคอนเดรียลดีเอ็นเอของมันสำปะหลัง (Manihot esculenta Crantz) ไม่มีความแปรปรวน

Authors

  • ยุรนันท์ ทรวงทองหลาง
  • ชูตา บุญภักดี

Keywords:

ดีเอ็นเอ, มันสำปะหลัง, ไมโทคอนเดรียลดีเอ็นเอ, พีซีอาร์

Abstract

          มันสำปะหลัง (Manihot esculenta Crantz) เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของประเทศไทย ในงานวิจัยนี้ ทำการศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ non-coding ของไมโทคอนเดรียลดีเอ็นเอของมันสำปะหลังที่ยังไม่มีรายงานการศึกษา เพื่อพิจารณาใช้เป็นเครื่องหมายชีวโมเลกุลในการระบุสายพันธุ์โดยศึกษากับมันสำปะหลังจำนวน 18 สายพันธุ์ เพิ่มปริมาณชิ้นดีเอ็นเอขนาด 368 คู่เบส ด้วยคู่ไพรเมอร์ trn-Phe และ trn-F ในปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของลำดับนิวคลีโอไทด์ระหว่างสายพันธุ์พบว่าบริเวณ non-coding ของไมโทคอนเดรียลดีเอ็นเอของมันสำปะหลังทุกตัวอย่างมีขนาดเท่ากับ 268 คู่เบส ไม่มีลำดับเบสที่แตกต่างกันและผลการศึกษาร่วมกับพืชในวงศ์ Euphorbiaceous เดียวกันอีก 2 ชนิด คือ ยางพารา (Hevea brasiliensis) และละหุ่ง (Ricinus communis) พบความแตกต่างจำนวน 10 และ 33 คู่เบส ตามลำดับ และพืชต่างวงศ์อีก 1 ชนิด คือถั่วเขียว (Vigna radiata(L.)) พบความแตกต่างจำนวน 32 คู่เบส ดังนั้นบริเวณ non-coding ของไมโทคอนเดรียลดีเอ็นเอไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นเครื่องหมายชีวโมเลกุลในระดับสายพันธุ์ของมันสำปะหลัง           Cassava (Manihot esculenta Crantz) is an important economic crop of Thailand. The purpose of this study is to investigate the non-coding mitochondrial DNA region of cassava that hasnot yet been reported for useas a molecular marker for cultivar identification. In this study, 18 cassava cultivars were used to obtain the 368-bp segment using trn-Phe and trn-F primers in the Polymerase Chain Reaction. The non-coding mitochondrial DNA region of all samples were 268 base pairs, with no nucleotide difference. Comparison between sequences of other members within Euphorbiaceous (same family as cassava), Para rubber (Hevea brasiliensis) and castor bean(Ricinus communis), revealed 10 and 33 base pairs being different, respectively. Moreover, when compared to mung bean (Vigna radiata (L.)), out of Euphorbiaceous family, found 32 base pairs different. Therefore, the non-coding mitochondrial DNA region is not suitable for cassava identification at the cultivar level.

Downloads