ผลของคอลลาเจนไฮโดรไลเซทจากหนังปลากรายที่มีต่อการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์แอนจิโอเทนซินวัน-คอนเวอร์ติงและต่อกิจกรรมการต้านอนูมูลอิสระ
Keywords:
ปลากราย, คอลลาเจนไฮโดรไลเซท, เอนไซม์แอนจิโอเทนซินวัน-คอนเวอร์ติง, การต้านอนุมูลอิสระAbstract
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือเพื่อศึกษาผลของระดับการย่อยสลายและขนาดโมเลกุลของคอลลาเจนไฮโดรไลเซทจากหนังปลากราย (Chitala ornata) ที่มีต่อการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์แอนจิโอเทนซินวัน-คอนเวอร์ติง (angiotensin Iconverting enzyme, ACE) และการต้านอนุมูลอิสระ คอลลาเจนที่สกัดได้จากหนังปลากรายมีปริมาณผลผลิต 35.67% ของน้ำหนักแห้ง จากผลการศึกษารูปแบบโปรตีนของคอลลาเจนด้วยเทคนิค SDS-PAGE พบว่าคอลลาเจนจากหนังปลากรายเป็นคอลลาเจน type I จากนั้นคอลลาเจนถูกย่อยด้วยเอนไซม์ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ทริปซิน เปปซิน และอัลคาเลสที่ระยะเวลาการย่อยแตกต่างกัน (0, 2, 4, 6 และ 8 ชั่วโมง) พบว่าคอลลาเจนที่ถูกย่อยด้วยเอนไซม์อัลคาเลสมีระดับการย่อยสลายสูงที่สุด คือ 35.09% รองมาคือเปปซิน (26.73%) และทริปซิน (22.03%) ตามลำดับที่ระยะเวลาการย่อย 8 ชั่วโมงซึ่งคอลลาเจนไฮโดรไลเซทที่ถูกย่อยด้วยเอนไซม์อัลคาเลสเป็นเวลา 8 ชั่วโมงแสดงประสิทธิภาพในการยับยั้ง ACE และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระเมื่อวิเคราะห์ด้วยวิธี 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl (DPPH) radical scavenging และ ferric reducing antioxidant power (FRAP) ได้ดีที่สุด เมื่อนำคอลลาเจนไฮโดรไลเซทที่ได้จากการย่อยด้วยเอนไซม์อัลคาเลสเป็นเวลา 8 ชั่วโมง มาแยกขนาดโมเลกุลของเพปไทด์ด้วยเยื่อกรองอัลตราฟิวเตชัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ crude hydrolysates, ขนาดมากกว่า 30 กิโลดาลตัน, ขนาดระหว่าง 10-30 กิโลดาลตันและขนาดน้อยกว่า 10 กิโลดาลตัน พบว่าคอลลาเจนไฮโดรไลเซท ที่มีขนาดน้อยกว่า 10 กิโลดาลตันมีประสิทธิภาพในการยับยั้ง ACE (50.35%) และแสดงความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุดเมื่อวิเคราะห์ด้วยวิธี DPPH (59.06%) และ FRAP (304.56 mM สมมูลของ FeSO4) The objective of this study was to investigate effect of degree of hydrolysis and molecular weight of collagen hydrolysates from clown featherback (Chitala ornata) skin on angiotensin I-converting enzyme (ACE) inhibitory and antioxid antactivities. Yield of collagen from clown featherback was 35-67% of dried skin. Based on SDS-PAGE, the collagen was classified as Type I. The collagen was hydrolyzed by various proteinases including trypsin, pepsin and alcalase at different hydrolysis time (0, 2, 4, 6 แ ละ 8 h). The highest degree of hydrolysis was found in hydrolysates prepared from alcalase (35.09%), followed by pepsin (26.73% ) and trypsin (22.03% ), respectively at 8 h hydrolysis. Alcalase-induced hydrolysates (at 8 h) exhibited the highest ACE inhibitory and antioxidant activities based on 1,1- diphenyl-2- picrylhydrazyl (DPPH) radical scavenging and ferric reducing antioxidant power (FRAP). The hydrolysates prepared from alcalase (at 8h) were fractionated into 4fractions: crude hydrolysates, >30 kDa, 10-30 kDa and <10 kDa using ultrafiltration membranes. The fraction with MW <10 kDa showed the highest ACE inhibitory activity (50.35%) and antioxidant activity based on DPPH radical scavenging (59.06%) and FRAP (304.56 mM FeSO4 equivalent).Downloads
Issue
Section
Articles