การทดสอบวิธีการหยอดเมล็ดพันธุ์ไม้พื้นเมืองเพื่อการฟื้นฟูป่าเบญจพรรณที่ถูกรบกวน
Keywords:
การตั้งตัวของต้นกล้า, การงอกของเมล็ด, การฟื้นฟูป่าเขตร้อนAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบหาชนิดไม้พื้นเมืองที่เหมาะสมต่อการฟื้นฟูระบบนิเวศบริเวณป่าเบญจพรรณที่ถูกรบกวนซึ่งมีไผ่เด่นด้วยวิธีการหยอดเมล็ด และศึกษาผลของไผ่ที่มีต่อการงอกและการเจริญเติบโตของกล้าไม้ โดยทำวิจัยบริเวณพื้นที่ป่าของวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อ.แม่สอด จ.ตาก พันธุ์ไม้ที่ใช้ทดสอบ ได้แก่ มะค่าโมง (Afzelia xylocarpa) เสี้ยวป่า (Bauhinia malabarica) คูน (Cassia fistula) ทองหลางป่ า (Erythrina subumbrans) เลือดควาย (Knema erratica) มะกอกป่า (Spondias pinnata) และสมอพิเภก (Terminalia bellirica) ผลการวิจัยพบว่าเลือดควาย มีอัตราการงอกสูงกว่าร้อยละ 60 ทั้งในพื้นที่ป่าและในเรือนเพาะชำซึ่งมากกว่าพันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ และเป็นชนิดเดียวที่สามารถอยู่รอดได้หลังฤดูฝนแรกด้วยอัตราการรอดตายถึงร้อยละ 88.2 ส่วนสมอพิเภกอาจไม่เหมาะสมด้วยวิธีการหยอดเมล็ดเพราะไม่สามารถงอกในพื้นที่ป่าได้ The objectives of this research were to test appropriate native tree species for restoring a disturbed mixed deciduous forest by direct seeding method and study effects of bamboos on germination and growth of the native tree species. The research was conducted in the forest area of Bodhivijjalaya College, Srinakharinwirot University, Mae Sot District, Tak Province. Native tree species were tested which were Afzelia xylocarpa, Bauhinia malabarica, Cassia fistula, Erythrina subumbrans, Knema erratica, Spondias pinnata and Terminalia bellirica. The results indicated that K. erratica germinated more than 60 percent both in the bamboo forest and in the nursery which higher than other species. It was also the only species that could survive after first rainy season with 88.2 percent survival rate. T. bellirica could not germinate in the bamboo forest, which seems not to be suitable for restoration by direct seeding method.Downloads
Issue
Section
Articles