ฟลักซ์ของตะกอนแขวนลอยและสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำบริเวณปากแม่น้ำเวฬุ ในช่วงฤดูแล้ง และฤดูน้ำมาก ในปีพ.ศ. 2557
Keywords:
ฟลักซ์ของตะกอนแขวนลอย, ฟลักซ์ของสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำ, แม่น้ำเวฬุ, อ่าวไทยAbstract
คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาฟลักซ์ของน้ำ ตะกอนแขวนลอยและสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำ ในรอบน้ำขึ้นน้ำลงบริเวณปากแม่น้ำเวฬุในปี พ.ศ. 2557 ในระหว่างวันที่ 13 - 14 กุมภาพันธ์ (ฤดูแล้ง) และวันที่ 13 - 14 สิงหาคม (ฤดูน้ำมาก) พบว่าฟลักซ์สุทธิของน้ำมีทิศออกสู่ทะเลในทุกฤดูกาลโดยมีปริมาณเท่ากับ 14.71 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ในช่วงฤดูแล้งและ 17.36 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ในช่วงฤดูน้ำมาก ฟลักซ์ของตะกอนแขวนลอยมีทิศออกสู่ทะเลในฤดูแล้งในปริมาณ 2,214.45 ตันต่อวัน และมีทิศเข้าสู่แผ่นดินในฤดูน้ำมากในปริมาณ 3,546.73 ตันต่อวัน สวนทางกับฟลักซ์ของน้ำ อาจเป็นผลมาจากการฟุ้งกระจายของตะกอนที่พื้นทะเลหรือการกัดเซาะชายฝั่งทางด้านนอกในช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง ฟลักซ์ของ แอมโมเนียมีทิศทางเข้าสู่แผ่นดินค่อนข้างสูงในฤดูแล้ง (771.13 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อวัน) ซึ่งอาจมีแหล่งมาจากกิจกรรมการ เพาะเลี้ยงบริเวณชายฝั่งด้านนอกของปากแม่น้ำ และมีทิศทางออกสู่ทะเลในฤดูน้ำมาก (3.31 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อวัน) อิทธิพลจากการชะล้างจากแผ่นดินส่งผลให้ฟลักซ์ของซิลิเกตในทิศทางออกสู่ทะเลมีค่าสูงมากทั้งในฤดูแล้ง (19,946.24 กิโลกรัมซิลิกาต่อวัน) และในฤดูน้ำมาก (17,882.28 กิโลกรัมซิลิกาต่อวัน) ฟลักซ์ของไนเตรทรวมกับไนไตรท์ (130.68 กิโลกรัม ไนโตรเจนต่อวัน) และฟอสเฟต (8.59 กิโลกรัมฟอสฟอรัสต่อวัน) ในฤดูแล้งมีทิศเข้าสู่แผ่นดินและในฤดูน้ำมากมีทิศออกสู่ทะเล (1,346.07 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อวัน และ 4.77 กิโลกรัมฟอสฟอรัสต่อวัน ตามลำดับ) แสดงถึงแหล่งที่มาทั้งจากแผ่นดินและจากทะเล ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า แม่น้ำเวฬุมีการปลดปล่อยสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำที่มีแหล่งที่มาทั้งจากพื้นที่ภายในลุ่มน้ำและจากนอกชายฝั่ง The researchers studied the fluxes of water, suspended sediment and dissolved inorganic nutrients in a tidal cycle at the Welu River mouth during the periods from 13 to 14 February (dry season) and from 13 to 14 August (wet season). The net fluxes of water were directed to the sea in both seasons in the amount of 14.71 million m 3 /day in dry season and 17.36 million m 3 /day in wet season. Fluxes of suspended sediment was directed seaward in dry season in the amount of 2,214.45 ton/day, and landward in wet season in the amount of 3,546.73 ton/day, opposed to the flux of water. This may be due to the resuspension of sediment on the sea floor or the coastal erosion of the outer area during the strong southwest monsoon. Fluxes of ammonia were directed seaward in wet season (3.31 kg N/ day) and landward in dry season (771.13 kg N/ day). There may be sources of ammonia from coastal aquaculture activities outside of the river mouth in dry season. The effect of leaching from the soil resulted in a very high silicate flux in both dry (19,946.24 kg Si/day) and wet seasons (17,882.28kg Si/day). Fluxes of nitrate with nitrite (130.68 kg N/day) and phosphate (8.59 kg P/day) in dry season were directed landward whereas in wet season were directed seaward (1,346.07 kg N/day and 4.77 kg P/day, respectively) indicating sources from both the land and the sea. The study showed that the Welu River water was affected by dissolved inorganic nutrients from sources within the watershed and offshore.Downloads
Issue
Section
Articles