การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์ของแนวทางการปรับตัวต่อการกัดเซาะหาดทรายในประเทศไทย

Authors

  • หิริพงศ์ เทพศิริอำนวย
  • นาฎสุดา ภูมิจำนงค์

Keywords:

แนวทางการปรับตัว, การกัดเซาะหาดทราย, การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์, การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาการกัดเซาะพื้นที่หาดทรายในระดับประเทศจากการเพิ่มขึ้นของ ระดับน้ำทะเลผ่านการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์ (Cost-Benefit Analysis: CBA) ของแนวทางการปรับตัว แต่ละรูปแบบในพื้นที่ศึกษา 3 แห่งคือ หาดแหลมแม่พิมพ์ (จังหวัดระยอง) หาดบ้านเกาะฝ้าย (จังหวัดนครศรีธรรมราช) และหาดปากเมง (จังหวัดตรัง) การวิเคราะห์ครอบคลุมผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจอันประกอบด้วยพื้นที่หาดทรายที่ลดลง การอพยพของประชาชนในพื้นที่ และการเปลี่ยนแปลงของจำนวนและรายได้ของนักท่องเที่ยวในพื้นที่หาดทราย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลจากการลงพื้นที่ศึกษาใน พ.ศ. 2557 และดำเนินการวิเคราะห์ผ่านภาพจำลอง 3 ภาพจำลองในอนาคตภายใต้กรอบการวิเคราะห์ของอายุโครงการเป็นระยะเวลา 22 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 2557-2578) ผลการศึกษาพบว่าแนวทางที่ 2 การถมทรายชายหาดโดยไม่ บูรณการกับแนวทางอื่นไม่เหมาะสมในการดำเนินการปรับตับในพื้นที่ที่มีอัตราการกัดเซาะสูง เช่น หาดบ้านเกาะฝ้าย และหาดปากเมง โดยแนวทางที่อาจเหมาะสมคือ กำแพงกันคลื่น และการประยุกต์ใช้โดมกันคลื่นใต้ทะเลควบคู่กับการถมทรายชายหาด สำหรับพื้นที่หาดแหลมแม่พิมพ์แนวทางการบูรณะหาดทรายถือเป็นแนวทางที่เหมาะสม เนื่องด้วยเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการกัดเซาะต่ำ อย่างไรก็ตามการปรับตัวโดยใช้โครงสร้างแข็งส่งผลต่อการปรับตัวตามธรรมชาติของหาดทราย และขัดขวางการเคลื่อนย้ายของตะกอนตามสมดุลธรรมชาติ รวมถึงเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนของคลื่นและลม ดังนั้นการประยุกต์ใช้โครงสร้างแข็งควรดำเนินการภายใต้ความระมัดระวังและคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องที่และกระบวนการตามธรรมชาติทั้งนี้ชุมชนท้องถิ่นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถใช้ผลการศึกษาภายใต้กรอบการวิเคราะห์ CBA จากการวิจัยนี้ในการปรับตัวรองรับผลกระทบจากการกัดเซาะหาดทรายได้ในอนาคต           This study focuses on the effects of rising sea levels on sandy beach erosion in Thailand. The cost– benefit analysis (CBA) method was utilized to evaluate the economic impact of various adaptation options in three study areas: Laem Mae Phim beach in Rayong Province, Ban Ko Fai beach in Nakhon Si Thammarat Province, and Pak Meng beach in Trang Province. The aspects of sand loss, forced human migration, and tourism flows and revenues were evaluated using secondary data and data from field studies conducted in 2014. These were modelled through three scenarios over a 22-year project lifetime (2014-2035). The results of the CBA reveal that Scenario 2 (beach nourishment) is not an appropriate adaptation option for sandy beaches that are significantly eroded (Ban Ko Fai and Pak Meng beaches), while other options, such as sea walls, wave attenuation domes with beach nourishment, and artificial reefs, are likely suitable. At Laem Mae Phim beach, the beach nourishment option is likely to be sufficient due to the lower rate of erosion. These CBA results could aid various stakeholders and local communities as they are forced to adapt to beach erosion in Thailand. Nevertheless, the application of hard structure options must be undertaken with caution due to the potential adverse effects.

Downloads

Published

2021-04-26