การศึกษาเบื้องต้นถึงความแตกต่างทางพันธุกรรมในประชากรม้าน้ำแคระ (Hippocampus mohnikei) : ความเป็นไปได้ของชนิดซ่อนเร้น

Authors

  • ทรรศิน ปณิธานะรักษ์
  • รติมา ครุวรรณเจริญ

Keywords:

ม้าน้ำแคระ, Hippocampus mohnikei, ระยะห่างทางพันธุกรรม, อ่าวไทย, Japanese seahorse

Abstract

          ม้าน้ำแคระ (Hippocampus mohnikei) เคยถูกรายงานว่าพบเฉพาะในญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันพบแพร่กระจายในหลายประเทศของทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย สิงคโปร์ ไทย กัมพูชา มาเลเซีย และเวียดนาม ซึ่งอาจทำให้การแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากรที่อยู่ห่างกันลดน้อยลงไป จนเกิดความแตกต่างระหว่างประชากรได้การศึกษานี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบระดับความแตกต่างทางพันธุกรรม โครงสร้างพันธุศาสตร์ประชากร และระยะห่างทางพันธุกรรมของประชากรที่พบในอ่าวไทย เปรียบเทียบกับประชากรที่พบในน่านน้ำญี่ปุ่นและชายฝั่งทางตอนเหนือของจีน โดยการวิเคราะห์ลำดับทางพันธุกรรมบริเวณ cytochrome b ขนาด 702 คู่เบส การศึกษาลำดับทางพันธุกรรมของประชากรในอ่าวไทย (2haplotypes, n = 6, หาดบางแสน จ. ชลบุรี) เปรียบเทียบกับน่านน้ำญี่ปุ่น (2 haplotypes, n = 3) และชายฝั่งทางตอนเหนือของจีน (29 haplotypes, n = 50, Yangmadao และ Laizhouwan) พบว่าประชากรจากอ่าวไทยแสดงความแตกต่างทางพันธุกรรมกับประชากรที่พบในน่านน้ำญี่ปุ่นและชายฝั่งทางตอนเหนือของจีนอย่างมีนัยสำคัญ (FST, P < 0.05) พบความผันผวนทางพันธุกรรมสูงระหว่างสองกลุ่มประชากร (63.89%, P < 0.0001) ระยะห่างทางพันธุกรรม (Kimura 2-parameter) ระหว่างประชากรอ่าวไทยกับชายฝั่งทางตอนเหนือของจีนและอ่าวไทยกับน่านน้ำญี่ปุ่นมีค่าสูง (13.54-14.46 % และ 14.42-14.79 % ตามลำดับ) เทียบเท่ากับระยะห่างทางพันธุกรรมระหว่างม้าน้ำต่างชนิดกัน ผลการศึกษาทั้งหมดชี้ให้เห็นว่าประชากรอ่าวไทยแสดงความแตกต่างทางพันธุกรรมอย่างชัดเจน และมีโอกาสเกิดชนิดซ่อนเร้นขึ้นในเขตแพร่กระจายของประชากรม้าน้ำแคระ การศึกษาเพิ่มเติมทางอณูพันธุศาสตร์ร่วมกับสัณฐานวิทยาจึงมีความสำคัญในการจำแนกชนิดม้าน้ำแคระในประเทศไทย           The Japanese seahorse (Hippocampus mohnikei) had been confirmed to present only in Japan, although recently its range has greatly expanded to many countries in Asia such as India, Singapore, Thailand, Cambodia, Malaysia, and Vietnam. This could possibly reduce gene flow between distant populations, allowing differentiation to occur. Therefore, this study aimed to investigate levels of genetic differentiations, population genetic structure and genetic distances among the populations found in the Gulf of Thailand, Japanese waters and North China’s coast based on cytochrome b sequence analyses (702 bp). The analyses of the Gulf of Thailand sequences (2 haplotypes, n = 6, Bangsaen Beach, Chonburi Province) compared with Japanese waters (2 haplotypes, n = 3) and North China’s coast (29 haplotypes, n = 50, Yangmadao and Laizhouwan) suggested that the population in the Gulf of Thailand was significantly different from those in Japan and North China’s coast (FST, P < 0.05). High genetic variance was observed among the 2 population groups (63.89%, P < 0.0001). Genetic distances (Kimura 2-parameter) between the populations from the Gulf of Thailand and North China’s coast, and those from the Gulf of Thailand and Japan were high (13.54-14.46 % and 14.42-14.79 %, respectively), similar to the distances observed between species. This suggests genetically distinct population in the Gulf of Thailand and the possibility of cryptic species within H. mohnikei population range. More studies based on both genetic and morphological data are important to correctly identify the Japanese seahorse found in Thai waters.

Downloads

Published

2021-04-26