ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้ำ และแพลงก์ตอนพืชบริเวณชายฝั่งจังหวัดเพชรบุรี

Authors

  • อุไรรัตน์ รัตนวิจิตร
  • วิทย์ ธารชลานุกิจ
  • เกษม จันทร์แก้ว
  • อรอนงค์ ผิวนิล

Keywords:

คุณภาพน้ำ, แพลงก์ตอนพืช, ความสัมพันธ์, ชายฝั่งจังหวัดเพชรบุรี, โครงการตามพระราชดำริ แหลมผักเบี้ย

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้ำ และแพลงก์ตอนพืชบริเวณชายฝั่งทะเลเพชรบุรี โดยเก็บตัวอย่างน้ำทะเลตลอดแนวชายฝั่งทะเลเพชรบุรี ตั้งแต่อ่าวบางตะบูนถึงโครงการตามพระราชดำริ แหลมผักเบี้ย อ.บ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ระยะทาง 85 กิโลเมตร จำนวน 6 สถานี ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2559 ผลการศึกษาพบว่าคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำทะเลชายฝั่งเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและพบว่าชายฝั่งทะเลเพชรบุรี มีการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนพืชโดยประกอบไปด้วยแพลงก์ตอนพืช 2 ดิวิชั่น ทั้งหมด 29 สกุล ดิวิชั่น Cyanophyta (bluegreen algae) พบ 1 สกุล คือ Oscillatoria sp. ดิวิชั่นChromophyta คลาส Bacillariophyceae พบ 20 สกุล และ คลาส Dinophyceae (dinoflagellates) พบ 8 สกุล โดยแพลงก์ตอนพืชที่มีมากชนิดมากที่สุดคือกลุ่มไดอะตอม ซึ่งพบทุกสถานีสกุลเด่นที่พบคือ Ceratium furca , Odontella sinensis และ Coscinodiscus sp. และสถานีเก็บตัวอย่างบริเวณ คลองอีแอด มีปริมาณแพลงก์ตอนพืชมากที่สุด จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้ำกับปริมาณแพลงก์ตอนพืช โดยแยกแต่ละสถานีพบว่าแพลงก์ตอนพืชบริเวณอ่าวบางตะบูนมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับแอมโมเนีย และแคลเซียมซิลิเกตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% (r=0.892,0.885 p<0.05) บ้านแหลม แพลงก์ตอนพืชมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับอุณหภูมิอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% (r=-0.893, p<0.05) บางแก้ว แพลงก์ตอนพืชมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับความเค็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% (r=0.996, p<0.05) คลองอีแอด แพลงก์ตอนพืชมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับแอมโมเนียม ฟอสเฟต และอุณหภูมิอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่95% (r=0.856, 0.819, 0.875 p<0.05) วัดสมุทรธาราม แพลงก์ตอนพืชมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับความเค็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 99% (r=-0.967,p<0.001)           This research aimed to study relationship between water qualities and phytoplankton at coastal area Phetchaburi Province. Samples of seawater in Phetchaburi coastal area from Bang Ta-boon bay to Laem Phak Bia project, Ban Laem, Phetchaburi province during the distance of 85 km, 6 station in November 2016. The results showed that water quality was in the standard of coastal sea water for aquaculture. Phytoplankton was found in 29 species of 2 Division. Division Cyanophyta (blue-green algae) found 1 species is Oscillatoria sp. Class Bacillariophyceae (diatom) which in division chromophyta found 20 species and Class Dinophyceae (dinoflagellates) found 8 species. The dominant species were Ceratium furca, Odontella sinensis and Coscinodiscus sp. From the sampling stations all along the coast, it was found that the Klong EEd sample point, which the most abundant phytoplankton. Correlation analysis using person correlation between water quality and phytoplankton. It was found that phytoplankton was positive related to calcium silicate and ammonium at Bang Ta-boon area (r = 0.885, 0.892 p<0.05). Ban Laem area phytoplankton was negative related to temperature (r=-0.893, p<0.05). Bangkaew area phytoplankton was positive related to salinity (r = 0.996, p <0.05). Klong E-ED area phytoplankton was positive related to temperature ammonium and phosphate (r= 0.875, 0.856, 0.819, p<0.05) and Wat Samut Tharam area phytoplankton was negative related to salinity (r=-0.976, p<0.01)

Downloads

Published

2021-04-26