รูปแบบการกระจายของสารหนูในน้ำบาดาลโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ บริเวณพื้นที่ชุมชน ลุ่มน้ำห้วยข้าวสาร จังหวัดอุบลราชธานี

Authors

  • วัชรพงษ์ แสงนิล
  • จารุวรรณ์ วงบุตดี
  • จุฑารัตน์ จิตติมณี
  • สุวภรณ์ แดนดี

Keywords:

สารหนู, น้ำบาดาล, สถิติสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่

Abstract

          สารหนู (Arsenic) สามารถพบได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป และเป็นส่วนประกอบในสารกำจัดแมลง และสารกำจัดศัตรูพืชโดยเกษตรกรใช้สารกำจัดแมลง และสารกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันแมลงศัตรูข้าว ทำให้มีสารหนูปนเปื้อนในดินและน้ำบาดาล ถ้าประชาชนสัมผัสหายใจ หรือดื่มน้ำ จะส่งผลให้สารหนูเข้าสู่ร่างกายได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปริมาณสารหนูปนเปื้อนในน้ำบาดาล และวิเคราะห์สถิติสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่และรูปแบบการกระจายของปริมาณสารหนูในน้ำบาดาล โดยดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำบาดาล จำนวน 31 บ่อ และเก็บตำแหน่งพิกัดด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก จากนั้นวิเคราะห์การปนเปื้อนของสารหนูในตัวอย่างน้ำบาดาล ด้วยเทคนิคกราไฟต์เฟอร์เนสอะตอมมิกแอบซอร์พชัน (Graphite Furnace Atomic Absorption) และวิเคราะห์รูปแบบการกระจายของสารหนูด้วยการวิเคราะห์การเป็นกลุ่มและส่วนที่อยู่นอกกลุ่ม และประมาณค่าของสารหนูด้วยวิธีคริกกิ้งแบบอินดิเคเตอร์ผลการศึกษาพบว่าสารหนูปนเปื้อนในน้ำบาดาล จำนวน 22 บ่อ การวิเคราะห์สถิติสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ด้วย Moran’s I พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงพื้นที่เป็นกลุ่มและกระจายเป็นกลุ่มมากในทางตอนใต้ของพื้นที่ศึกษา           Arsenic is found in the natural environment as it is used in insecticides and pesticides for protection of rice. As part of this process, it has contaminated soil and groundwater, exposing people to its effects by touch, breathing, and drinking. This study aimed to assess the arsenic in groundwater and analyze the spatial distribution patterns of arsenic contamination by using spatial autocorrelation in groundwater. Groundwater data were collected from 31 wells with global positioning system (GPS). Arsenic contamination of the groundwater analyzed by Graphite Furnace Atomic Absorption. Spatial autocorrelation statistics were analyzed by Anselin Local Moran's I for the patterns of distribution of arsenic contamination. In addition, groundwater of arsenic contamination was modeled by indicator kriging method. The Results showed that 22 groundwater sources were contaminated with arsenic. The application of spatial correlation statistics with Moran's I revealed a cluster spatial pattern with statistical significance of arsenic in groundwater especially in the south of the study area.

Downloads

Published

2021-04-26