การศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อความอ่อนไหวในการเกิดน้ำท่วม บริเวณลุ่มน้ำย่อยคลองนาทวี ด้วยวิธีการถดถอยพหุโลจิสติกส์

Authors

  • ธิดาภัทร อนุชาญ

Keywords:

ปัจจัยทางกายภาพ, ความอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วม, ลุ่มน้ำย่อยนาทวี, การถดถอยพหุโลจิสติกส์

Abstract

          วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อการเกิดน้ำท่วม และสร้างแผนที่ความอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วม บริเวณลุ่มน้ำย่อยคลองนาทวี ด้วยวิธีการถดถอยพหุโลจิสติกส์ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อการเกิดน้ำท่วมมีเพียง 6 ปัจจัย ได้แก่ 1) ความลาดชันของพื้นที่ 2) การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน 3) ความสามารถในการระบายน้ำของดิน 4) ระยะห่างจากทางน้ำ 5) ความหนาแน่นของทางน้ำ และ 6) ความหนาแน่นของถนน ซึ่งเพียงพอสำหรับการสร้างแผนที่ความอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วม โดยมีค่าความถูกต้องทั้งเส้นโค้งอัตราผลสำเร็จ และเส้นโค้งอัตราผลการทำนายที่ระดับ 0.9191 และ 0.9393 ตามลำดับ จากนั้นนำค่าคะแนนความอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วมมาจัดแบ่งระดับโอกาสในการเกิดน้ำท่วมออกเป็น 5 ระดับ พบว่า ระดับความอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วมในระดับมากที่สุดมีโอกาสเกิดน้ำท่วม 120.18 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 7.91 ของพื้นที่ และเมื่อนำระดับความอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วมซ้อนทับกับชั้นข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมในอดีตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550-2559 และปี พ.ศ. 2560 พบว่า มีพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมจริงในระดับความอ่อนไหวมากที่สุด 60.18 ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 57.63) และ 20.24 ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 68.58) ตามลำดับ           This research aims to study the physical factors affecting flood and formulate the flood susceptibility map in Khlong Nathawi subbasin by using Multiple Logistic Regression Model. The study indicated that physical factors caused of flooding were only 6 factors: 1) slope 2) land use and cover 3) soil drainage capability 4) distance from drainage 5) stream network density and 6) road network density which were sufficient to contribute the flood susceptibility map. The results also revealed that the success rate curve and prediction rate curve were 0.9191 and 0.9323, respectively. Flood susceptibility index values were divided into five classes. The classes affecting flood susceptibility were the highest and the high range that covering 120.18 square kilometers or 7.91% of the area. According to flood susceptibility index overlay with the flood plain from 2007 to 2017and 2018, it illustrated that the real flood events happened in the highest susceptibility range with 60.18 square kilometers (57.63%) and 20.24 square kilometers (68.58%) respectively.

Downloads

Published

2021-04-26