การแปรรูปกากไขมันเป็นปุ๋ยหมักด้วยกระบวนการปรับปรุงคุณภาพขั้นต้น : กรณีศึกษาโรงแรมในพื้นที่ เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Authors

  • พันธวัศ สัมพันธ์พานิช
  • กรองแก้ว ทิพยศักดิ์
  • เพ็ญรดี จันทร์ภิวัฒน์

Keywords:

กากไขมัน, วัสดุผสม, โรงแรม, ปุ๋ยหมัก

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีปรับปรุงคุณภาพของกากไขมันขั้นต้น และความเป็นไปได้ในการหมักกากไขมันร่วมกับวัสดุอินทรีย์เหลือใช้ต่าง ๆ และการเปรียบเทียบคุณสมบัติของปุ๋ยหมักที่ได้กับคุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร พ.ศ. 2548 กากไขมันนำมาจากบ่อดักกากไขมันของโรงแรมในพื้นที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วนำมาผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพขั้นต้นด้วยสารปรับปรุงกากไขมัน 4 ชนิด คือ กรดฟอสฟอริก กรดไนตริก น้ำหมักชีวภาพ และโซเดียมไฮโดรเจนซัลเฟต ในอัตราส่วนของสารปรับปรุง 1 มิลลิลิตร ต่อกากไขมัน 1 กรัม แล้วกวนผสมกากไขมันและสารปรับปรุงกับกากไขมันที่ระยะเวลาสัมผัส คือ 1 ชั่วโมง, 1 วัน และ 3 วัน ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า กรดฟอสฟอริก และน้ำหมักชีวภาพ กับกากไขมัน ที่ระยะเวลาสัมผัส 3 วัน ทำให้คุณภาพกากไขมันดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ชัดเจน จากนั้นผสมและหมักกากไขมันที่ปรับปรุงคุณภาพขั้นต้นกับมูลโคและขี้เลื่อย ที่อัตราส่วน 40:50:10 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ทำการเติมอากาศกองปุ๋ยหมักทุกวัน และควบคุมความชื้นที่ 40-60% ตลอดระยะเวลาการหมัก พบว่า กระบวนการหมักกากไขมันนั้นเสร็จสมบูรณ์ที่ระยะเวลา 30 วัน และปุ๋ยหมักมีปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร (มากกว่าร้อยละ 1.0 และ 0.5 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ) อย่างไรก็ดีอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน ในปุ๋ยหมักกากไขมันมีค่าระหว่าง 25.94:1 และ 33.13:1 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ที่ 20:1 และมีดัชนีการงอกของเมล็ดในน้ำสกัดปุ๋ยหมักชุดควบคุม และปุ๋ยหมักกากไขมันที่ปรับปรุงด้วยกรดฟอสฟอริก (ที่อัตราส่วนการสกัดปุ๋ยหมักและน้ำสกัด 1:10) ที่ต่ำกว่า 80% ซึ่งแสดงถึงความเป็นพิษของปุ๋ยหมักต่อการงอกของเมล็ดถั่วเขียวและการเจริญเติบโตของพืช และแม้ว่ากระบวนการหมักกากไขมันจะเสร็จสิ้นแล้ว แต่ควรดำเนินการบ่มหรือหมักการไขมันต่อไปอีก เพื่อให้ปุ๋ยหมักกากไขมันที่ผลิตได้นั้นมีความเสถียรมากขึ้น นอกจากนี้ปุ๋ยหมักที่ได้มีปริมาณโพแทสเซียมต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้นปุ๋ยหมักกากไขมันที่ผลิตได้นี้จึงมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้สำหรับไม้ประดับที่ต้องการบำรุงลำต้นและใบของพืชเท่านั้น           This research was conducted in order to examine the initial improvement of grease waste quality before composting, to evaluate the grease waste composting capability with other organic wastes, and to compare the quality of compost products to the Department of Agriculture (DOA) organic fertilizer standard in 2005. Grease wastes used in this study were obtained from a hotel in Samui Island, Surat Thani Province. The quality of grease wastes was initially improved by phosphoric acid (PA), nitric acid, effective microorganisms (EM), and sodium hydrogen sulfate solution at a ratio of 1: 1 by weight (in gram) per volume (in mL). Different mixing times adopted were 1 hour, 1 day, and 3 days, respectively. Grease wastes mixed with PA and EM for 3 days showed good quality improvements. Afterward, the treated grease wastes were composted with cow manure and saw dust in a rotary tank at the ratio of 40:50:10, respectively. A fresh air was supplied, and a 40-60% of moisture was maintained during 30 days composting. Comparing to the DOA (in 2005) organic fertilizer standard, the composting products had higher nitrogen (>1.0%) and phosphorus (>0.5%) contents. The carbon to nitrogen ratios of compost products (25.94:1 to 33.13:1) were higher than the organic fertilizer standard of 20:1. The germination indices of the green bean seeds germinating in the extracted solution (1:10 ratio of compost duct and extractant) of both control compost product and compost product treated by phosphoric acid which were higher than 80% indicated the toxicity of compost products to seed germination and plant growth. Therefore, the maturation should be conducted to result in the more stable and mature compost products. Since the potassium contents in the compost products were lower than the organic fertilizer standard, the compost products were suitable for the maintenance of stem and leaves of the ornamental plants.

Downloads

Published

2021-04-26