ผลกระทบจากการใช้ระบบโฟมอัดอากาศแทนน้าต่อกระบวนการปฏิบัติการผจญเพลิง

Authors

  • ธันวา อาภรณ์ทิพย์

Keywords:

compressed-air foam system, การผจญเพลิง, ปฎิบัติการผจญเพลิงในตัวอาคาร, ความปลอดภัยนักดับเพลิง

Abstract

           การพัฒนาระบบโฟมอัดอากาศ (Compressed-air foam systems, CAFS) ได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการผจญเพลิงไปเป็นอย่างมาก ในช่วงแรกนั้นระบบโฟมอัดอากาศถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการผจญไฟป่า เนื่องจากประสิทธิภาพของระบบที่ช่วยให้ปริมาณน้าที่มีอยู่อย่างจำกัดถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วงหลังแม้แต่หน่วยดับเพลิงที่ปฏิบัติการในชุมชนก็เริ่มหันมาใช้ระบบโฟมอัดอากาศมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสภาพการทำงานที่แตกต่างกัน ประสิทธิภาพและความเหมาะสมของระบบโฟมอัดอากาศในการผจญเพลิงอาคารจึงยังคงเป็นหัวข้อศึกษาที่น่าสนใจ ในบทความนี้ ผู้เขียนได้ทำการทบทวนผลการวิจัยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประสิทธิภาพของการใช้ระบบโฟมอัดอากาศแทนการใช้น้ำ ผลงานวิจัยทุกชิ้นที่ผู้เขียน ได้ใช้ในบทความนี้ คัดสรรมาเฉพาะงานวิจัยที่มีการวิเคราะห์โดยใช้หลักการทางสถิติ และสามารถทำซ้ำได้ ผู้เขียนเลือกที่จะไม่พิจารณาบทความที่ใช้การยกตัวอย่างจากประสบการณ์ เนื่องจากเป็นผลการศึกษาที่ไม่สามารถทำซ้ำได้ การเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างสองระบบ จะอ้างอิงตามลำดับความสาคัญของวัตถุประสงค์ในการผจญเพลิง (RECEO) ถึงแม้ว่าการใช้ระบบโฟมอัดอากาศจะไม่เปลี่ยนลำดับความสำคัญของวัตถุประสงค์ แต่เทคนิคที่ใช้ในการปฏิบัติภารกิจเปลี่ยนไปจากการใช้ระบบใหม่ การใช้ระบบโฟมอัดอากาศช่วยทำให้การเคลื่อนย้ายสายดับเพลิงมีความคล่องตัวมากขึ้น และช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่นักดับเพลิง หากเปรียบเทียบความสามารถในการดับเพลิง ระบบโฟมอัดอากาศมีประสิทธิภาพทัดเทียมหรือดีกว่าการใช้น้ำเสมอ ในผลการศึกษาหลายชิ้นระบบโฟมอัดอากาศมีประสิทธิภาพมากกว่าน้ำ 4-5 เท่า อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่า CAFS จะมีประสิทธิภาพมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการป้องกันสิ่งปลูกสร้างข้างเคียงและการดับเพลิง แต่ผลการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน เช่น ผลกระทบต่อการสืบสวนหาสาเหตุของเพลิงไหม้ สมควรได้รับการศึกษาเพิ่มเติม             Since its development, compressed-air foam systems (CAFS) have changed how fire is extinguished and how firefighters should operate. Initially used in wildland firefighting to conserve water, CAFS can stretch the limited water supply available for firefighting. Recently, many urban fire departments have adapted CAFS for structural firefighting. Because of the differences between a wildland and an urban fire, the success of CAFS in the former type of fire cannot guarantee its successful operation in the latter. We review studies comparing fire attack lines using CAFS and water. The studies included in this review are statistically-based and repeatable. Anecdotal evidence is excluded because of their inability to be repeated and studied in a statistically meaningful manner. The comparison was carried out with respect to CAFS’ impacts on relevant tactical priorities on fireground (RECEO). While CAFS does not change the priorities on fireground, some tactics to achieve the objectives are changed by using CAFS in place of water. We found that a CAFS line can improve maneuverability of the attack line and, in turn, increase the safety of personnel on fireground compared to water. For extinguishing fire in controlled burn experiments, a CAFS line is at least as efficient as a water line. In many cases, CAFS can be as much as 4-5 times more efficient than water. Despite the clear advantage of CAFS, especially in exposure protection and extinguishment, there are some aspects that need further studies. For example, the interference of CAFS with fire investigation is unclear and needs further research.

Downloads

Published

2021-04-26